หน้า : 1
กระทู้: ในหลวง ร.9 กับพระราชกรณียกิจด้านวิศวกรรมการต่อเรือ เริ่มกระทู้โดย: lukey2009 ที่ 15 ต.ค. 19, 14:44 น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 กับพระราชกรณียกิจด้านวิศวกรรมการต่อเรือ
ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ประพาสยุโรปใน พ.ศ. ๒๕๐๓ นั้น พระองค์ได้ทอดพระเนตรกิจการต่อเรือของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งที่ประเทศเยอรมนี และได้มีพระราชดำริว่ากองทัพเรือไทยน่าจะต่อเรือประเภทนี้ไว้ใช้ในราชการเองบ้าง เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประทศ เมื่อเสด็จฯ กลับจากการประพาสยุโรปครั้งนั้นแล้ว ได้มีพระราชปรารภเรื่องการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หลังจากนั้นกระทรวงกลาโหมก็ได้มอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือของกองทัพเรือเป็นผู้ดำเนินการต่อเรือดังกล่าว โดยเริ่มจากเรือ ต. ๙๑ ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นลำแรก เรือลำนี้นายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศเป็นผู้ออกแบบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานความช่วยเหลือประการต่าง ๆ เช่น ทรงสั่งเอกสารวิชาการต่อเรือจากต่างประเทศมาให้ศึกษา ทรงติดต่อกับสถาบันวิจัยและทดลองแบบเรือแห่งชาติของอังกฤษให้ช่วยทดสอบแบบให้จนเป็นที่พอใจ ได้เสด็จฯ ไปเป็นประธานในพิธีวางกระดูกงูเรือ และเมื่อมีการต่อเรือเสร็จแล้ว ก็ได้เสด็จฯ ไปทอดประเนตรการทดสอบเรือด้วยพระองค์เอง อีกทั้งได้พระราชทานข้อคิดเห็นในการแก้ไขข้อบกพร่องทางเทคนิคของเรือ จนกระทั่งเรือสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นก็ได้มีการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งในชุดนี้ (แต่เปลี่ยนชื่อเป็น “เรือตรวจการใกล้ฝั่ง”) อีก ๘ ลำคือเรือ ต. ๙๒ ถึง ต. ๙๙ สำหรับลำสุดท้าย คือเรือ ต. ๙๙ นั้น มีกำหนดให้เสร็จทันวาระเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ กระทู้: ในหลวง ร.9 กับพระราชกรณียกิจด้านวิศวกรรมการต่อเรือ เริ่มกระทู้โดย: sorono55 ที่ 16 ต.ค. 19, 13:26 น . “...ในด้านบัญญัติศัพท์หรือคำใหม่ก็เป็นทางหนึ่งที่อันตรายมากเหมือนกัน...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นทางวิชาการไม่ใช่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก... แต่การตั้งคำใหม่นั้นมีหลักหลายประการ และผู้ที่ตั้งคำนั้นต้องรู้คำและหลักของภาษาลึกซึ้งทั้งภาษาไทย ทั้งภาษาต่างประเทศ ไม่ใช่เฉพาะภาษาอังกฤษ ต้องทราบถึงภาษาอื่นๆ ด้วย ต้องทราบถึงหลักภาษาอังกฤษเองคือมาจากไหน มาจากความคิดอะไร เพื่อจะไม่ให้ผิดไปอย่างตลกขบขันทีเดียว...”
พระราชดำรัสในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ กระทู้: ในหลวง ร.9 กับพระราชกรณียกิจด้านวิศวกรรมการต่อเรือ เริ่มกระทู้โดย: lukey2009 ที่ 24 ต.ค. 19, 10:56 น ศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อน
(https://ed.files-media.com/ud/book/content/1/152/454531/reChachoengsao-000155-960x612-qa-94.jpg) จากสภาพพื้นที่เดิมในบริเวณนี้ที่เนื้อดินเป็นทราย ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีการชะล้างพังทลายของดินสูง ดินรองรับน้ำได้น้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) มีแนวพระราชดำริกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แห่งนี้จัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นแหล่งรวบรวม ศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ทางการเกษตรให้เป็นศูนย์ด้านเกษตรกรรมที่สมบูรณ์แบบด้วยวิธีการเกษตรแผนใหม่ ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ ฟื้นฟูสภาพป่า การพัฒนาที่ดิน การวางแผนปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งยังจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตและเป็นศูนย์รวมการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ ถือเป็นต้นแบบแนวทางและตัวอย่างการพัฒนาให้แก่พื้นที่อื่นได้อย่างยั่งยืน (https://ed.files-media.com/ud/book/content/1/152/454531/reChachoengsao-000156-800x1255-qa-94.jpg) |