เรื่องล่าสุดของหมวด
รวม 7 ทรีทเมนท์สำหรับผมทำสี ยิ่งหมัก ผมยิ่งสวย #คนทำสีผมบ่อยต้องหาทำ
8 เคล็ดลับช่วยให้ผิวสวยหน้าใส สภาพผิวแบบไหนก็เอาอยู่
"เจนิส เจณิสตา" สาวใต้หน้าหมวยสุดฮอต สวยเผ็ดขึ้นเรื่อยๆ ไปทำอะไรมา?
แนะนำ 2 เอสเซนส์บำรุงผิว แก้ความหมองคล้ำ และแห้งกร้าน จาก GIORGIO ARMANI
How to กลบรอยสักคิ้ว เปลี่ยนทรงคิ้วง่ายๆ เนียนๆ
เปิดที่มาความสวย "อแมนด้า ออบดัม" ราคาหลักร้อยก็ปังได้
เอวจงมา! ทริคแต่งตัวเพิ่มสัดส่วน สำหรับคนไม่มีเอว
"ศิตา ชู" แฟนเก่า "กัน นภัทร" ทั้งสวยทั้งเก่ง เจ้าของแบรนด์แฟชั่น Bchu Runway
ไอเทมสีสดต้อนรับตรุษจีน 2021 จาก Bottega Veneta
Burberry ปล่อยแคมเปญ Chinese New Year 2021 เฉลิมฉลองปีฉลู
เคล็ดลับเริ่ดๆ เลือกชุดว่ายน้ำให้เหมาะกับรูปร่าง ของ ดีไซเนอร์สาว "แองจี้ แอนเจลิส บาเลก"
สาวก Totoro เตรียมช็อป! คอลเลกชั่นพิเศษแสนน่ารัก LOEWE x My Neighbor Totoro
10 อาหารกระตุ้นร่างกายให้สดชื่นตื่นตัว ดีแบบนี้ต้องจัดเต็มทุกเช้า
5 รูปแบบการออกกำลังกายที่บ้าน ช่วยเบิร์นไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีทำ "ขนมถั่วแปบ" แบบง่ายๆ เหนียวนุ่ม อร่อยถูกใจแน่นอน
ห้องเสื้อ วนัช กูตูร์ เจ้าของรางวัล 5 ปีซ้อน "The Best of thai wedding dress"
เพิ่มน้ำนมในคุณแม่ลูกอ่อนง่ายๆ ด้วย 10 วิธีเลือกกินอย่างมีประสิทธิภาพ
4 ข้อรู้ไว้ รักอย่างไรไม่ให้ใจเป็นพิษ
หน้า: 1
แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?
ผ่านไตรมาสแรกมาได้ คุณพ่อคุณแม่คงโล่งใจ ที่ลูกน้อยในท้องแข็งแรง และพร้อมเติบโตไปจนถึงวันคลอด แต่ในไตรมาสที่สองนี้ ยังมีอะไรอีกมากมายรออยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นอาการที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงสรีระ และฮอร์โมนของตัวคุณแม่เอง ดังนั้น ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ คลายกังวล และเตรียมตัวรับมือได้1.ลูกดิ้น เข้าเดือนที่ 4 คุณแม่บางคนจะเริ่มรับรู้ถึงความรู้สึกเหมือนมีอะไรมาตอดตรงหน้าท้อง อาการแบบนี้ คือลูกน้อยเริ่มดิ้นจนคุณแม่รู้สึกได้ ช่วงนี้ คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่จดบันทึกการดิ้นของลูก เพื่อเฝ้าสังเกตุความผิดปกติ และสำหรับคุณแม่บางท่าน อาจเริ่มรับรู้ว่าลูกดิ้นได้ช่วงเดือนที่ 5 ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติ2.หน้าท้อง อาจขยายใหญ่ หรือไม่ก็ได้ คุณแม่หลายคนเข้าใจผิดว่า เข้าเดือนที่ 4 ท้องต้องโต หากท้องไม่โต ลูกอาจตัวเล็ก อันที่จริง ท้องจะโตหรือไม่โต มาจากปัจจัยหลายๆข้อ ทั้งประวัติการตั้งครรภ์ กรรมพันธุ์ หรือแม้กระทั่งสรีระของคุณแม่เอง ซึ่งขนาดท้อง ไม่ได้สัมพันธ์กับขนาดของตัวเด็ก 3.ฉี่บ่อย เนื่องจากมดลูกจะเริ่มขยายจนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้พื้นที่เก็บปัสสาวะเหลือน้อยลง จึงปวดฉี่บ่อยขึ้น4.ปวดบริเวณข้อต่อต่างๆ ร่างกายของเรามีความมหัศจรรย์ที่สุดก็คือตอนตั้งครรภ์ เพราะร่างกายจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับวันคลอด ไตรมาสที่สองนี้ กระดูกเชิงกรานจะเริ่มเคลื่อนขยายออก โดยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะถูกหลั่งออกมา เพื่อคลายเส้นเอ็นที่ใช้ยึดกระดูเชิงกราน แต่การหลั่งของฮอร์โมน ไม่ได้ออกฤทธิ์เฉพาะจุด แต่กลับออกฤทธิ์กับข้อต่อทั่วร่างกาย ช่วงนี้คุณแม่จึงจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อย และอาจรุนแรงขึ้นเมื่อถึงไตรมาสที่สาม5.ปวดหลัง ขนาดท้องที่โตขึ้น ทำให้ร่างกายคุณแม่มีจุดศูนย์ถ่วงที่เปลี่ยนไป ส่วนท้องที่ขยาย จะดึงรั้งกระดูกสันหลัง จนเกิดเป็นอาการปวดเมื่อย ซึ่งหากปล่อยไว้ อาจทำให้คุณแม่หงุดหงิด เมื่อ คนท้องนอนไม่หลับ จนกลายเป็นความเหนื่อยล้าสะสม ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในท้องอาการต่างๆที่เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องปกติของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ แต่สำหรับอาการปวดเมื่อยต่างๆ ทั้งข้อต่อ และบริเวณหลัง คุณแม่ควรหาตัวช่วยเพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง โดยอาจใช้ยานวด ปรับท่านั่ง ท่านอน ใช้ หมอนรองสำหรับคนท้อง หรือ หมอนรูปตัวยู เป็นอุปกรณ์เสริม เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อย และทำให้สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ส่งผลดีต่อทุกฝ่าย ทั้งคุณแม่ และลูกน้อย
แจ้งเตือน
ภาพและเนื้อหาต่อไปนี้ ไม่เหมาะสมแก่เด็ก และเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี