จากการคาดการ์ณของเว็บไซต์ Forbes ในปี 2018 ว่า 80% ของบรรดาผู้ประกอบการจะหันมาพิจารณาใช้งานระบบ Cloud Service กันมากขึ้นภายในปี 2020 ในปัจจุบัน ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าคำคาดการณ์ของ Forbes เป็นจริงและหลายผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะขนาดเล็ก, กลาง, หรือใหญ่ ก็ต่างกำลังมองหาระบบ Cloud Services ที่ใช่สำหรับธุรกิจของตนเองเพื่อรักษาและสร้างความเป็นเสถียรภาพ, ความปลอดภัย, และความมีประสิทธิภาพให้แก่การจัดการข้อมูลและการให้บริการของธุรกิจของตน โดยการใช้เวลาศึกษารายละเอียดแต่ละประเภทของ Cloud Services คือก้าวสำคัญเริ่มแรกในการใช้ระบบ Cloud ให้เกิดประสิทธิภาพ ในวันนี้เราจะมาอธิบาย 3 ประเภทหลักของบรรดาระบบ Cloud Services ให้ทุกคนที่สนใจได้ลองพิจารณาและเลือกสรรระบบ Cloud ที่ใช่สำหรับคุณกันค่ะ แต่ก่อนจะก้าวไปทำความใจแต่ละประเภท มาทำความเข้าใจว่าอะไรคือ Cloud Service กันก่อนดีกว่า
Cloud Services คือ?
การให้บริการระบบ Cloud มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Cloud Computing หรือ ระบบการประมวลผลก้อนเมฆ ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์หรือทรัพยากรทางด้านระบบคอมพิวเตอร์ ครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์, การจัดเก็บข้อมูล, และระบบออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต มีข้อดีมากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ระดับความปลอดภัยและความเสถีรยภาพของข้อมูลที่มากขึ้น และเป็นระบบที่สามารถเข้าใช้งานได้ทุกแห่งหน ไม่ว่าคุณจะอยู่ใด ขอแค่มีอินเทอร์เน็ต ก็สามารถเข้าใช้งานผ่านระบบ Cloud ได้ค่ะ ตัวอย่าง ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบ Cloud ที่คุณอาจใช้งานอยู่เป็นประจำแต่อาจไม่รู้ตัว ก็เช่น ICloud, Dropbox, หรือ Google Drive
ประเภทของ Cloud Services
1.Software as a Service (SaaS)
คือ การให้บริการระบบ Cloud เพื่อการใช้งานบรรดาซอฟแวร์ (software) และแอพพลิเคชั่น (Application) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ผ่านการจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือนหรือรายปีตามแต่ที่ทางผู้ให้บริการกำหนด โดยเราในฐานะผู้ใช้งาน ก็ไม่จำเป็นต้องมาเสียเวลาสร้างหรือหาคนมาดูแลระบบโครงสร้าง (Infrastructure) เพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้สร้างและดำเนินการดูแลระบบภายในให้เราทั้งหมด เราไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างระบบคอมพิวเตอร์, ฮาดแวร์, หรือซอฟต์แวร์เอง เพราะจะถูกเรียกใช้ผ่านระบบ Cloud จากที่ใดก็ได้ค่ะ ตัวอย่างผู้ให้บริการระบบ SaaS เช่น Google Docs, Microsoft Office 365
2.Platform as a Service (PaaS)
คือ การให้บริการด้านแพลตฟอร์ม (platform) แด่ผู้ใช้งานประเภทนักพัฒนาระบบ (developer) ที่มีความเชี่ยวชาญหรือทำงานทางด้านซอฟแวร์ (software) และแอพพลิเคชั่น (Application) หรือ กล่าวโดยง่ายก็คือ ผู้ที่ต้องการและมีความสามารถในการพัฒนาระบบการให้บริการบางประเภทของตนเอง โดยผู้ให้บริการ Cloud ก็จะเป็นผู้เข้ามาช่วยเหลือจัดหาบรรดาเครื่องมือ เช่น Hardware, Software, หรือชุดคำสั่ง เพื่อให้นักพัฒนาสามารถต่อยอดเองได้ทันที เป็นการลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการพัฒนาซฟอท์แวร์ ตัวอย่างผู้ให้บริการ PaaS เช่น Google App Engine, Microsoft Azure
3.Infrastructure as a Service (IaaS)
คือ บริการด้านการวางและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในทางด้าน IT ให้แก่บรรดาองค์กร ได้แก่ ระบบเครือข่าย (Network), ระบบจัดเก็บข้อมูล (Database), ระบบประมวลผล (CPU) จนถึงบรรดาอุปรณ์พื้นฐาน เช่น Servers และ ระบบปฏิบัติการ (OS) โดยเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ต้องการลงทุนและลดความยุ่งยากในการดูแลระบบเองค่ะ
เมื่อพิจารณาความต้องการของคุณและบรรดาลักษณะเด่นของระบบ Cloud แต่ละประเภทเสร็จ ก็จะสามารถเลือกประเภทระบบการให้บริการ Cloud ที่ใช่สำหรับธุรกิจของคุณได้แล้วค่ะ สำหรับใครที่กำลังมองหาผู้ให้บริการระบบที่เชื่อถือได้ ส่วนตัวเราแนะนำเป็นบริการของ CSL ก็เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ ถ้าใครมีคำถามหรืออยากแชร์การใช้บริการของตนเองก็มาแชร์กันได้เลยนะคะ