บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนากล่องเกมภาษาน่ารู้สำหรับเด็กปฐมวัย
ชั้นปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกล่องเกมภาษาน่ารู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กล่องเกมภาษาน่ารู้ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อกล่องเกมภาษาน่ารู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน แบบวิจัยใช้แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย กล่องเกมภาษาน่ารู้ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 จำนวน 4 เกม แผนการจัดประสบการณ์การใช้เกมการศึกษา 5 แผน แบบวัดคุณภาพของกล่องเกมภาษาน่ารู้สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 แบบทดสอบวัดทักษะทางภาษา แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อกล่องเกมภาษาน่ารู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาประสิทธิภาพของกล่องเกมภาษาน่ารู้ (E1/E2) ค่าความสอดคล้องของกล่องเกมภาษาน่ารู้ ค่าความตรงเชิงเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเที่ยง (KR – 20) และ ( )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนากล่องเกมภาษาน่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 และแผนการจัดประสบการณ์โดยจัดทำจำนวน 4 เกม ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ามีความสอดคล้อง ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.92
2. ผลการหาประสิทธิภาพของกล่องเกมภาษาน่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.08/82.75 ซึ่งมีผลเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80 /80
3. เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 มีทักษะทางภาษา ในภาพรวมก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้กล่องเกมภาษาน่ารู้ มี
คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.77 หลังการการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 34.87 เมื่อเปรียบเทียบแล้วพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
4. เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อกล่องเกมภาษาน่ารู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.76