กลุ่มทรูโชว์ตัวเลขปี 2561 กวาดรายได้ที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทรูมูฟ เอช ที่มีอัตราการเติบโตของรายได้จากการให้บริการสูงกว่าคู่แข่ง 6 ปีซ้อนและมีแนวโน้มเติบโตสูงต่อในปีนี้ อีกทั้งยังมีผลกำไรที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและพร้อมเสนอการจ่ายเงินปันผลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
อนึ่ง ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มีอนุมัติการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2561 เพื่อเป็นทุนสำรองตามกฎหมายจำนวน 341,167,710.17 บาท คิดเป็นร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปี 2561 และะการจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิประจำปี 2561 ในอัตราหุ้นละ 0.09 บาท คิดเป็นเงินปันผลทั้งสิ้ นจำนวน 3,003,137,577.09 บาท
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 กลุ่มทรู เปิดเผยว่า ในปี 2561 ทรูมูฟ เอช มีกำไรสุทธิ 7.03 พันล้านบาท ส่วนรายได้สูงเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 1.018 แสนล้านบาท เติบโต 4.9 % จากปีก่อนหน้า มีผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิ 2 ล้านราย มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 29.2 ล้านราย ทำรายได้จากการให้บริการเติบโตขึ้นร้อยละ 7.3 จากปีก่อนหน้า ในขณะที่ผู้ให้บริการรายใหญ่รายอื่นมีรายได้จากการให้บริการรวมกันลดลงร้อยละ 0.1 จากปีก่อนหน้า ซึ่งทรูมูฟ เอชมีแนวโน้มที่ดีและสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากการมุ่งเน้นนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงโอกาสในการเติบโตอย่างมากจากการรุกเข้าไปในพื้นที่ที่ยังมีส่วนแบ่งตลาดไม่สูงนัก
รายได้ที่เติบโตต่อเนื่องจากการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร รวมถึงความสำเร็จในการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล ทำให้มีผลกำไรจำนวน 7 พันล้านบาท ในปี 2561 โดยการมุ่งเน้นกลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโตของรายได้ อัตรากำไร และกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง เป็นรากฐานสำคัญที่จะผลักดันให้กลุ่มทรูสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ทรูให้ความเห็น เรื่องประมูลคลื่น 700 MHz ในการประชุมผู้ถือหุ้นทรู ถึงที่มาว่า ทั้งอุตสาหกรรม
ทีวีดิจิทัล และอุตสาหกรรมสื่อสาร
มือถือ ได้ยื่นขอต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทั้งคู่ เพื่อที่จะผ่อนคลายให้เกิดการผ่อนชำระส่วนของคลื่นความถี่ ซึ่งจริง ๆ ก็คือ ทั้งหมด 2 อุตสาหกรรมขอเหมือนกัน ซึ่งก็ดีที่ออกมาโดยพื้นฐานที่ว่าให้ผ่อนก็ได้ แต่ก็มีเงื่อนไข ที่จะต้องไปทำ 5G ซึ่งเข้าใจดีว่าเป็นโจทย์ของประเทศไทยที่จะต้องก้าว 5G พร้อม ๆ กับนานาชาติ
โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 9 พ.ค. มีราย
งานจาก กสทช.ว่า ทรูมูฟได้ยื่นหนังสือแจ้ง กสทช.ยืนยันการใช้สิทธิ์ขยายงวดการชำระเงินค่าประมูลคลื่น 900 MHz จาก 4 งวด เป็น 10 งวดเรียบร้อยแล้ว ทำให้เห็นได้ชัดว่า ถึงแม้ค่ายมือถือยินยอมขอผ่อนชำระแน่นอน แต่ว่าราคาคลื่น 5G ที่จัดสรรมา ราคาก็ไม่ถูก ต้องดีดลูกคิดกันหลายตลบ เพราะเป็นเหมือนการจัดสรรแกมบังคับนิด ๆ แต่อย่างไรก็ตาม กสทช. ก็ให้ความคล่องตัวที่ว่า ใน 15 MHz จะแบ่งเป็น slot จะเลือก 15 หรือ 10 หรือ 5 MHz คงต้องรอดูว่าค่ายมือถือจะเอาทั้งหมด หรือว่าบางส่วน หรือไม่เอาเลย ซึ่งอย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่คงต้องไปถึงคณะกรรมการของแต่ละบริษัทในการตัดสินใจ