หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น ผนึกกำลังหยุดยั้งภาวะสายตาสั้นทั่วโลก  (อ่าน 12 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 13 พ.ย. 18, 07:45 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ศูนย์ดวงตาแห่งชาติสิงคโปร์ สถาบันวิจัยดวงตาสิงคโปร์ และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น ผนึกกำลังหยุดยั้งภาวะสายตาสั้นทั่วโลก
ความร่วมมือครั้งใหม่มูลค่า 26.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มุ่งหาทางป้องกันและรักษาภาวะสายตาสั้นที่กำลังเป็นภาระมากขึ้นเรื่อยๆ

ศูนย์ดวงตาแห่งชาติสิงคโปร์ (SNEC) สถาบันวิจัยดวงตาสิงคโปร์ (SERI) และบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น (Johnson & Johnson Vision) ได้ประกาศความร่วมมือด้านการวิจัยมูลค่า 26.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (36.35 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์) เพื่อรับมือกับภาวะสายตาสั้น ซึ่งเป็นภัยคุกคามสุขภาพดวงตาที่ใหญ่หลวงที่สุดในศตวรรษนี้ [1,2,3] โดยภายในปีพ.ศ. 2593 คาดว่าประชากรโลกครึ่งหนึ่งจะมีภาวะสายตาสั้น และราว 1 พันล้านคนจะมีภาวะสายตาสั้นรุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่โรคจอตา และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะทำให้ตาบอด [1]
นายแพทย์พอล สตอฟเฟลส์ รองประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กล่าวว่า "ภาวะสายตาสั้นกำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าตกใจทั่วโลก และหากปล่อยไว้ ภาระด้านมนุษย์และการเงินอาจพุ่งสูงขึ้นในอีกหลายสิบปีข้างหน้า โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย"
ศาสตราจารย์ออง ติน กรรมการบริหารของ SERI กล่าวว่า "การเพิ่มขึ้นของภาวะสายตาสั้น โดยเฉพาะในประชากรอายุน้อยเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างมาก หากเราเข้าใจกลไกที่ทำให้ภาวะสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เราจะสามารถขุดรากถอนโคนปัญหานี้ได้ SERI มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับบรรดาบริษัทชั้นนำเพื่อจัดการกับโรคที่เกี่ยวกับดวงตา และเรายินดีที่ได้สร้างความร่วมมือด้านการวิจัยเพื่อเปิดศักราชใหม่ในการจัดการกับภาวะสายตาสั้น"
ศาสตราจารย์หว่อง เทียน หยิน ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของ SNEC ระบุว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการผสานรวมทรัพยากร ประสบการณ์ทางคลินิกและวิทยาศาสตร์ และองค์ความรู้ เพื่อสร้างศูนย์วิจัยภาวะสายตาสั้นระดับแนวหน้าที่พร้อมมอบการดูแลรักษาและให้ความรู้ เพื่อสนับสนุนความพยายามระดับภูมิภาคและระดับโลกในการต่อสู้กับภาวะสายตาสั้น "SNEC รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมงานกับกลุ่มต่างๆที่มารวมตัวกันเพื่อจัดการกับภาระที่เพิ่มขึ้นของภาวะสายตาสั้น เราอาศัยความแข็งแกร่งหลากหลายด้านของบรรดาแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างกรอบการทำงานใหม่และแบ่งปันความรู้ไปสู่ประชาคมโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดภาวะสายตาสั้นให้หมดสิ้นไป"
ภาวะสายตาสั้นเป็นข้อบกพร่องของดวงตาที่พบมากที่สุดในโลก [1,2] และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคจอตาเสื่อม จอตาลอก ต้อกระจก และต้อหิน หากไม่ได้รับการแก้ไขก็อาจเป็นสาเหตุหลักของความบกพร่องทางการมองเห็นและภาวะตาบอด [1] ทั้งนี้ ภาวะสายตาสั้นเกิดจากลูกตาที่ยาวกว่าปกติเนื่องจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม [4] ปัจจุบันมีไม่กี่วิธีที่หน่วยงานกำกับดูแลอนุญาตให้ใช้ควบคุมภาวะสายตาสั้น
- เฉพาะในสิงคโปร์ ค่าใช้จ่ายโดยตรงของการแก้ไขภาวะสายตาสั้นอยู่ที่ราว 755 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.04 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์) ต่อปี [10]
จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น มีความเชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาและการวัดสายตา โดยได้รับการสนับสนุนจากความแข็งแกร่ง ศักยภาพ และความครอบคลุมของบริษัทต่างๆในเครือจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ที่มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาสาธารณสุขโลกที่มีความซับซ้อน ส่วน SERI และ SNEC มีจุดแข็งในการวิจัยด้านดวงตาและความเป็นเลิศในการรักษา อันนำไปสู่การยกระดับวิธีการตรวจวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตาในสิงคโปร์ ภูมิภาคเอเชีย และทั่วโลก
จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น
จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น มีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ในการปฏิรูปการดูแลสุขภาพดวงตาทั่วโลก เราส่งมอบนวัตกรรมผ่านทางบริษัทในเครือ เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาสามารถให้การรักษาที่ดีขึ้นแก่ผู้ป่วยตลอดชีวิต ด้วยผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่จะตอบสนองความจำเป็นต่างๆ เช่น การรักษาภาวะสายตาผิดปกติ ต้อกระจก และตาแห้ง เราช่วยให้ผู้คนในชุมชนที่มีความต้องการมากที่สุดได้เข้าถึงการดูแลดวงตาที่มีคุณภาพ นอกจากนั้นเรายังมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้คนมองเห็นได้ดีขึ้น สื่อสารกันได้ดีขึ้น และมีชีวิตที่ดีขึ้น สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของเราได้ทางเว็บไซต์ www.jjvision.com ทวิตเตอร์ @JNJVision และลิงค์อินของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น
สถาบันวิจัยดวงตาสิงคโปร์ (SERI)
SERI ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2540 เป็นสถาบันวิจัยแห่งชาติของสิงคโปร์ที่มุ่งทำการวิจัยด้านจักษุวิทยาและการมองเห็น ภารกิจของ SERI คือทำการวิจัยที่มีผลกระทบสูง โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันภาวะตาบอด ภาวะการมองเห็นได้ต่ำ และโรคเกี่ยวกับดวงตาที่พบบ่อยในชาวสิงคโปร์และชาวเอเชีย SERI เติบโตจากทีมงานผู้ก่อตั้ง 5 คนในปี 2540 สู่ทีมงาน 194 ชีวิตที่ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์คลินิก นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักศึกษาปริญญาเอก และเจ้าหน้าที่สนับสนุน ส่งผลให้ SERI เป็นหนึ่งในสถาบันวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ และสถาบันวิจัยดวงตาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ SERI ยังมีอาจารย์พิเศษมากกว่า 218 คนจากแผนกดวงตา สถาบันด้านชีวการแพทย์ และศูนย์ตติยภูมิในสิงคโปร์
วิดีโอ - https://mma.prnewswire.com/media/782462/Johnson_and_Johnson_Vision__Myopia.mp4
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/600714/Johnson_and_Johnson_Vision_Logo.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/782479/Singapore_National_Eye_Centre_Logo.jpg



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม