หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: สัมผัสผืนป่าชุมชนในฟาร์มหมูแห่งแรกของโลกที่กำแพงเพชร  (อ่าน 121 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 28 ธ.ค. 15, 10:03 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 


อีกครั้งที่ “ทีมท่องโลกเกษตร” มีโอกาสหวนกลับไปยังหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ตั้งอยู่ที่ ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ซึ่งเป็นชุมชนคนเลี้ยงหมูรายใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ เพื่อไปสัมผัสกับสวนป่าชุมชนที่มีพันธุ์ไม้หายากและเป็นศูนย์รวมของพันธุ์ไม้จากภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทย ที่ว่ากันว่าเป็นสวนป่าชุมชนในฟาร์มเลี้ยงหมูแห่งแรกของโลก และยังเป็น “ศูนย์เรียนรู้สวนป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติ” ที่เปิดเป็นห้องเรียนธรรมชาติให้ชุมชนใกล้เคียงและผู้สนใจทั่วไปเข้าเยี่ยมชมแล้วจำนวนมากอีกด้วย





หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร กำเนิดขึ้นเมื่อ 37 ปีก่อน บนเนื้อที่กว่า 4,000 ไร่ แบ่งเป็นที่ดินสำหรับเกษตรกร 1,600 ไร่ ส่วนใหญ่จะเลี้ยงสุกร ควบคู่กับาชีพเสริม อาทิ การเลี้ยงปลาดุก การปลูกผักกระเฉดน้ำ การผลิตมูลสุกรแห้ง ส่วนที่เหลืออีก 2,400 ไร่ เป็นที่ดินส่วนกลาง ที่จัดเป็นถนน คลองชลประทาน แปลงเพาะปลูกพืชไร่ โดยเกษตรกรจะได้รับที่ดินสำหรับทำมาหากินครอบครัวละ 25 ไร่ พร้อมโรงเรือนเลี้ยงสุกรและบ้านพักอาศัยอย่างละ 1 หลัง

“หมู่บ้านแห่งนี้เกิดจากแนวคิดของธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ที่น้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่าจะช่วยเกษตรกรได้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง และนำมาปรับได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมสร้างรายได้อย่างยั่งยืน จึงใช้พื้นที่เนื้อที่กว่า 4,000 ไร่ ตรงนี้ให้เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมตั้งแต่ปี 2521 โดยมีบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เป็นพี่เลี้ยง ดูแลการบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงหมูของเกษตรกรทั้ง 64 ครอบครัว โดยที่เกษตรกรไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น” พิเชษฐ์ ใหญ่แก่นทราย ประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ย้อนอดีตในวันที่เราไปสัมผัส


สำหรับเกษตรกรที่ร่วมโครงการจะประกอบอาชีพในรูปแบบเกื้อหนุนและเชื่อมโยงกัน แบ่งเป็นหมู่บ้านเลี้ยงสุกรพันธุ์มีเกษตรกรจำนวน 40 ครอบครัว ทำหน้าที่ผลิตและดูแลลูกสุกร ก่อนส่งต่อไปยังหมู่บ้านสุกรขุน ซึ่งมีเกษตรกร 24 ครอบครัว ทำหน้าที่เลี้ยงดูสุกรให้แข็งแรงและปลอดจากโรค ซึ่งซีพีเอฟเป็นผู้รับผิดชอบต้นทุนการผลิต ความเสียหายระหว่างการเลี้ยง รวมถึงความผันผวนด้านราคาของผลผลิตและตลาด ส่วนเกษตรกรจะได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนและคุณภาพสุกรที่ผลิตได้ว่ามีจำนวนเท่าไร

พิเชษฐ์ บอกด้วยว่า กว่า 37 ปี ที่เกษตรกรที่ร่วมโครงการทั้ง 64 ครอบครัว ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สามารถสร้างรายได้ที่แน่นอน เฉลี่ยครอบครัวละ 5.5 หมื่นบาทต่อเดือน ทำให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บุตรหลานได้รับการศึกษาในระดับสูงจนได้ชื่อว่า “หมู่บ้านสามัคคี เทคโนโลยีที่ทันสมัย” จนทุกวันนี้

กระทั่งในปี 2554 เกษตรกรทุกคนมีความเห็นตรงกันว่าจะจัดทำสวนป่าชุมชนเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้หายากและรวบรวมพันธุ์ไม้จากภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทยไว้ใจกลางของโครงการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและประชาชนทั่วไป โดยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ยกพื้นที่ 30 ไร่ของบริษัทให้ชุมชนเพื่อจัดทำสวนป่าขึ้นมา แต่ช่วงแรกไม่ประสบผลสำเร็จ ต้นไม้ที่ปลูกไปกว่า 1.2 หมื่นรอดเพียง 50% เท่านั้น จึงปรึกษากับซีพีเอฟอีกครั้ง

“เป็นช่วงจังหวะที่ซีพีเอฟ มีโครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ เกษตรกรจึงสมัครเข้าร่วมโครงการทันที ในปี 2557 ซีพีเอฟเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการทำสวนป่า จากคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ตลอดจนกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จากการดำเนินการ ปรากฏว่าต้นไม้รอดถึง 90%” พิเชษฐ์ กล่าว





ปัจจุบันสวนป่าแห่งนี้ถือเป็นสวนป่าชุมชนในฟาร์มเลี้ยงหมูแห่งแรกของโลก ที่รวบรวมพันธุ์ไม้ถึง 210 ชนิดเอาไว้ จัดเป็นโซนพันธุ์ไม้เป็น 7 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โซนป่าดิบชื้น โซนป่าดิบแล้ง โซนป่าดิบเขา โซนป่าเบญจพรรณ โซนป่าเต็งรัง โซนป่าชายเลน โซนป่าชายหาด และโซนพันธุ์ไม้หายาก พร้อมมีการระบุชื่อพันธุ์ไม้และถิ่นกำเนิดเพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาพันธุ์ไม้ ซึ่งจากการประเมินมูลค่าระบบนิเวศในปี 2558 พบว่ามีมูลค่าระบบนิเวศสูงถึง 6.2 แสนบาท สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 1,488 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

ด้าน สุธี สมุทระประภูต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟเสริมว่าโครงการ “ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ” เริ่มดำเนินโครงการในปี 2557 เพื่อต่อยอดการสร้างพื้นที่สีเขียวภายในสถานประกอบการของบริษัท ทั้งโรงงานและฟาร์ม ด้วยการพัฒนาระบบรวบรวมข้อมูลการวัดผลเชิงระบบนิเวศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านสิ่งแวดล้อมและความคุ้มค่าต่อการลงทุน สร้างต้นแบบสถานประกอบการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน พร้อมนำองค์ความรู้การประเมินมูลค่าของระบบนิเวศมาใช้นำร่องในสถานประกอบการ 4 แห่ง ได้แก่โรงงานอาหารสัตว์ปักธงชัย จ. นครราชสีมา, ฟาร์มสุกร จ.กาญจนบุรี, ฟาร์มไก่บ้านธาตุ จ.สระบุรี และโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ จ.สระบุรี โดยในปี 2558 มีมูลค่าของระบบนิเวศรวมกว่า 4.4 ล้านบาท และยังตั้งเป้าขยายโครงการสู่ฟาร์มและโรงงาน 150 แห่งทั่วประเทศด้วย

นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ซีพีเอฟ กำลังขับเคลื่อนสร้างต้นแบบสถานประกอบการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนนั่นเอง







เครดิต http://www.komchadluek.net/detail/20151227/219298.html
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  ซีพีเอฟ cpf หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ธนินท์ เจียรวนนท์ ฟาร์มเลี้ยงหมู 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม