เรื่องการ เช็ดเครื่องสำอาง กับการแต่งหน้านั้น เป็นของคู่กันสำหรับสาวๆ ในทุกๆ วันเราแต่งแต้มสิ่งต่างๆ ลงบนผิวของเรา ไม่ว่าจะ บีบี ครีมกันแดด รองพื้น แป้ง ขลัชออน พวกเครื่องสำอางต่างๆ แต่เมื่อสาวๆ รู้จักแต่งหน้าแล้ว ก็ต้องรู้จักกับวิธี เช็ดเครื่องสำอาง ด้วย ถ้าไม่อยากมีสิวอุดตัน หรือปัญหาผิวต่างๆ ที่จะคอยกวนใจ ดังนั้นจึงต้องหาตัวช่วยมาทำความสะอาดผิวหน้าของเรา เช่น คลีนซิ่ง วอเตอร์ หรือ ผลิตภัณฑ์อย่างอื่นมาช่วยลบล้างพวกเครื่องสำอางให้หมดไปจากผิว ด้วยการเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าให้เหมาะสมกับสภาพผิวของเรา
คลีนเซอร์ กับ คลีนซิ่ง มีหน้าที่เหมือนกันคือ ช่วย เช็ดเครื่องสำอาง ล้างสิ่งสกปรก และสิ่งตกค้างบนใบหน้า พวกเมคอัพเครื่องสำอาง และฝุ่น ควัน มลภาวะต่างๆ ที่เกาะผิวหน้าของเรา
คลีนเซอร์ มักจะอยู่ในรูปแบบของ สบู่ , โฟม , ผง , เจล โดยจะใช้หลังจากการใช้ คลีนซิ่ง เหมาะกับการชำระสิ่งสกปรกทั่วไป จำพวกแป้งฝุ่น หรือฝุ่น ควัน ระหว่างวันเท่านั้น
เรามาดูคลีนซิ่งแต่ละประเภทกันบ้างดีกว่าค่ะ
1.
คลีนซิ่ง วอเตอร์ เป็นปลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
เช็ดเครื่องสำอาง เนื้อบางเบาที่สุด มีลักษณะเป็นน้ำใสๆ ไม่มีส่วนประกอบของน้ำมัน ไม่มีคามเหนอะหนะ ซึ่งเหมาะกับสาวผิวมัน ข้อดีของ
คลีนซิ่ง วอเตอร์ ก็คือ ใช้
งานง่าย ในช่วงระยะเวลาสั้น ไม่เปลืองเวลา ล้างเฉพาะจุดได้ แต่จะล้างพวกมาสคาร่าที่กันน้ำออกได้ไม่หมด ต้องใช้ Eye Makeup Remover เป็นตัวช่วยเพิ่ม เหมาะสำหรับคนที่แต่งหน้าอ่อนๆ อีกทั้งบางยี่ห้อยังเป็น
คลีนซิ่งลดสิวอุดตัน อีกด้วย อยากรู้ว่าจะเช็ดเครื่องสำอางออกได้แค่ไหน ตามกันมาดูได้ที่
http://www.ladyissue.com/archives/244052.คลีนซิ่ง ออยล์เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีเนื้อเป็นน้ำมัน เป็นส่วนประกอบสามารถทำความสะอาดเช็ดเครื่องสำอางออกได้เป็นอย่างดี โดยใช้การนวดเบาๆ เพื่อให้คราบเครื่องสำอางหลุดออกมา เหมาะสำหรับคนที่ผิวหน้าแห้ง และคนที่แต่งหน้าจัดๆ
3.มิลค์ คลีนซิ่งมีลักษณะกึ่งเหลว หึ่งโลชั่น มีตัวประสานให้น้ำ และน้ำมันเข้ากันเป็นเนื้อคล้านน้ำนม เหมาะสำหรับคนที่ผิวธรรมดา-แห้ง
4.คลีนซิ่ง ครีมลักษณะเหมือนครีมบำรุงผิวทั่วไป ความเข้มข้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละแบรนด์ ซึ่งส่วนมากจะมีส่วนผสมของ Mineral Oil , Beeswax เหมาะสำหรับคนที่ผิวธรรมดา-แห้งมาก ใช้วิธีการนวดเช่นเดียวกับแบบ ออยล์
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างของคลีนซิ่ง แต่ละประเภท ซึ่งเราต้องเลือกใช้ให้ตรงกับสภาพผิวของเรานั่นเองค่ะ