ชื่องานวิจัย การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นางสาววฤณภา เทียมสองชั้น
ปีที่ทำการวิจัย 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยkศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2) พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมด
มี
คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็มและ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 35 คน กำลังศึกษาอยู่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต จำนวน 9 แผน รวม 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกประจำวันของผู้วิจัย แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการ
3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถสรุปขั้นตอนในการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ได้ดังนี้
1.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ประกอบด้วย การทบทวนเนื้อหาความรู้เดิมโดยใช้คำถาม ภาพ เพลง บทความ ข่าว กิจกรรม และการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบโดยเขียนบนกระดาน
1.2 ขั้นสอน ประกอบด้วย
1.2.1 ขั้นสร้างความขัดแย้งทางปัญญา เป็นขั้นที่กำหนดสถานการณ์ปัญหาโดยใช้ภาพ คำถาม สถานการณ์ และการใช้สื่อที่หลากหลาย มีการเสนอคำตอบรายบุคคล
1.2.2 ขั้นการไตร่ตรอง เป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายตรวจสอบ พิจารณาคำถามหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกันด้วยเหตุผล เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง มีการตรวจสอบคำตอบร่วมกัน โดยใช้ใบความรู้ ใบงาน หรือใบกิจกรรม เป็นหลักใน
การพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปว่าคำตอบใดมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
1.2.3 ขั้นสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา ครูกำหนดประเด็นคำถามหรือประเด็นการอภิปราย แล้วมีการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดและแสดงความเห็นอย่างเต็มที่ โดยอาศัยความรู้ที่นักเรียนได้เรียนมาก่อนแล้ว จากนั้นนักเรียนสร้างความรู้ขึ้น
ภายในกลุ่มตนที่ทุกคนในกลุ่มยอมรับร่วมกัน มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม
1.3 ขั้นสรุป เป็นขั้นตอนที่นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายสรุปบทเรียนโดยใช้คำถาม เพื่อให้นักเรียนได้ความคิดรวบยอด และหลักการที่ชัดเจนถูกต้อง นักเรียนสรุปเนื้อหาลงใน
สมุดงาน และทบทวนความรู้โดยการทำใบงาน
2. การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า มีนักเรียนจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 82.85 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนoเต็ม
3. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า มีนักเรียนจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71 ของนักเรียนทั้งหมด
มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์อยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = 0.93)