เข้าใจเสียใหม่ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นได้แม้อายุยังน้อย

โรคกระดูกทับเส้นประสาท คือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้น และการเสื่อมสภาพของร่างกาย การยกของหนัก การสูบบุหรี่ ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสนหลังเสื่อมเร็วขึ้น จากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังทำให้เกิดการทรุดตัวหรือเคลื่อนย้ายของโครงสร้างกระดูกตามไปด้วย
อย่าเข้าใจผิด คิดว่าโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จะเกิดขึ้นได้เฉพาะกับคนสูงอายุ สมัยนี้แค่ 30 ต้นๆ ก็เริ่มเป็นกันแล้ว ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังรื้อรังเพิ่มมากขึ้นในทุกช่วงอายุและหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำ
งาน เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตแทบทั้งสิ้น..ไม่ว่าจะเป็นท่าทาง อิริยาบถ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการใช้งานหลังที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุการปวดหลังที่พบได้บ่อยในคนวัยทำงานที่ต้องทำงานกับ
คอมพิวเตอร์ หรือใช้
มือถือเป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ยังรวมถึง..
-การยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
-น้ำหนักตัวที่มากเกินไป เพราะร่างกายต้องแบกรับน้ำหนักตลอดเวลา
-นั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องนานๆ
-อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง
สัญญาณเตือน โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าจะมีอาการปวดหลังเพียงอย่างเดียว แท้จริงแล้ว โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถปวดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ต้นขา น่อง ไปจนถึงบริเวณเท้าและนิ้วเท้าได้ ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก หรือปวดน้อย ขึ้นอยู่กับว่ากดมาก หรือน้อยเป็นสำคัญ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลงกล้ามเนื้อขาจะอ่อนแรง เดินและควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาจรุนแรงถึงขึ้นเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้... สังเกตอาการเบื้องต้นได้จาก
-ปวดคอร้าวลงแขน
-ปวดหลังร้าวลงขา
-ปวดเฉพาะที่
-ยืนนานก็ปวด นั่งนานก็ปวด
-ปวด เป็นๆ หายๆ
-ปวดเรื้อรัง นานกว่า 3 เดือน
อาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ขึ้นกับตำแหน่งของหมอนกระดูกว่ากดทับเส้นประสาทเส้นใด
-หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกข้อที่ 4-5 จะมีอาการอ่อนแรงของกล้มเนื้อหัวไหล่ แต่ไม่มีอาการชามือ
-หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกข้อที่ 5-6 จะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อด้านหน้า กล้ามเนื้อที่ใช้กระดกข้อมืออ่อนแรง ชาหรือปวดบริเวณมือนิ้วหัว
แม่มือ
-หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกข้อที่ 6-7 จะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อด้านหลัง กล้ามเนื้อที่ใช้เหยียดนิ้วมือ ชาหรือปวดบริเวณนิ้วกลาง
-หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกข้อที่ 7-กระดูกหน้าอกข้อที่1 ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อสำหรับการกำมือ ชาบริเวณมือนิ้วก้อย
แต่ในความเป็นจริงอาการและการตรวจพบอาจจะไม่ตรงไปตรงมา จำเป็นต้องใช้การตรวจพิเศษเพื่อยืนยันการวินิจฉัย จากแพทย์ผู้รู้จริง
วิธีการรักษา จะผ่าตัด หรือจัดโครงสร้างกระดูก?
ผู้ป่วยหลายคนที่เป็นโรคนี้ หากมีฐานะทางสังคมค่อนข้างดี มักจะลงเอยด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งจริงๆ แล้วการผ่าตัดไม่ใช่วิธีการรักษาที่ต้นเหตุ หมายถึงว่า หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้ว แผลบริเวณนั้นจะเกิดพังผืด อาจทำให้ไปกดทับเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงอีก วัฏจักรการเจ็บปวด ก็จะวนเวียนกันไปไม่หายขาดเสียที...
แต่หากผู้ที่ป่วยโรคนี้ อยู่ในกลุ่มหาเช้ากินเช้า มีรายจ่ายเข้ามาก่อนจะทันคิดหารายได้ จะเอาปัญญาที่ไหนไปจ่ายค่าผ่าตัดที่อย่างน้อยต้องมีไม่ต่ำกว่า แสนห้า!!!
ที่อวตารคลินิก รักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นด้วยศาสตร์ปรับโครงสร้างร่ายกาย ภูมิปัญญาไทยโบราณ ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยรักษา บริเวณกระดูกสันหลัง ต้นคอ และหลัง ที่เคลื่อนออกจากตำแหน่ง ให้กลับเข้า ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เป็นการรักษาที่ตรงต้นเหตุ การจัดกระดูกไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยา เป็นการใช้ธรรมชาติเพื่อให้กระดูกเข้าที่ เมื่อกระดูกเข้าที่ จะลดอาการเจ็บปวด การอักเสบ ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้อาการปวดทุเลาลง และหายได้ในที่สุด
ข้อดีของการรักษาโดยวิธีการนวดด้วยศาสตร์การจัดกระดูก
-ไม่ต้องผ่าตัด
-ไม่ต้องใช้ยา
-ไม่เจ็บ ไม่เกิดบาดแผล
-ไม่ต้องพักฟื้น หลังจัดกระดูกสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
-ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่เข้ารับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระแทก เช่นการวิ่ง การนั่งรถที่วิ่งบนทางขรุขระการนั่งเรือเร็วเป็นต้น และควรใส่ปลอกคอ ในรายที่ต้องมีการพักกระดูกต้นคอ
เล่าสู่กันฟัง เมื่อครั้งเคยปวด
คุณสมศักดิ์ อายุ 57 ปี มีอาการปวดไหล่ ปวดทรมาน ขนาดยกแขนซ้ายไม่ขึ้น นอกจากนี้คุณสมศักดิ์ยังมีอาการภูมิแพ้อีกด้วย... สาเหตุหลักๆ ของการปวดไหล่ของคุณสมศักดิ์เกิดจากการทำงานที่ต้องยกของหนักอยู่เป็นประจำ
เป็นอยู่นาน อาการกำเริบขึ้นทุกวัน คุณสมศักดิ์ตัดสินใจเข้ามาปรึกษาอาการกับหมอต้น นิพันธ์พงศ์ พานิช ที่อวตารคลินิก ...หมอต้น วิเคราะห์โครงสร้างกระดูกก่อนการรักษา พบว่า ไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากันแขนข้างซ้ายไม่สามารถยกมาชิดกับใบหูได้เลย จะรู้สึกเจ็บแปล๊บๆ ตลอดเวลา หากทิ้งไว้นาน จะยิ่งปวด ทรมานมากขึ้นกว่านี้ ...หลังจากจัดกระดูกไปเพียงครั้งเดียว ไหล่ทั้ง 2 ข้างของคุณสมศักดิ์เท่ากัน..แขนข้างซ้ายสามารถยกขึ้นมาจนชิดใบหูได้ และไม่มีความรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ บริเวณที่เคยเป็น...
หลายๆ คนถามมาว่า การจัดโครงสร้างกระดูก เป็นการรักษาที่ทำให้หายขาดถาวรเลยหรือไม่?
คำตอบ : หายขาดถาวรหากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ให้สมดุล เช่นไม่นั่งไขว่ห้างท่าเดิมๆ เป็นเวลานานๆ หลีกเลี่ยงการยืน เดิน นั่งเป็นเวลานานๆ หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ลดน้ำหนักให้สมดุลกับร่างกาย หลีกเลี่ยงการยกของหนักๆ และควรออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง