หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เสนอสุดยอดกลยุทธ์ A-B-C Strategies  (อ่าน 67 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 21 ต.ค. 14, 10:56 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

นายมารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและพม่า ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด กล่าวว่า ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้พัฒนา “กลยุทธ์ A-B-C” ที่จะมาจัดการกับข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured data) ที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมหาศาล โดยเฉพาะ ข้อมูลผ่านสังคมเครือข่าย, ไฟล์จำพวกมีเดีย (Media) ที่มีขนาดใหญ่ ฯลฯ ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการบริหารจัดการ รวมถึงความเสี่ยง และความซับซ้อนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หลายองค์กรมักแก้ปัญหาโดยค่อยๆเพิ่มโซลูชั่นให้กับโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีของตนทีละส่วน แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่เพิ่มเข้ามากลับส่งผลให้เกิดความยุ่งยาก ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และเกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์การจัดเก็บ ป้องกัน และจัดการข้อมูลในลักษณะที่มีประสิทธิภาพ นี้จะช่วยให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุดจากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถระบุ และตอบสนองความต้องการของลูกค้า, ตลาด และคู่แข่งได้เร็วขึ้น กลยุทธ์ A-B-C: ที่มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1: Archive 1st (บริหารการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลก่อน) : คือการบริหารจัดเก็บข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured data) ก่อน โดยแบ่งระดับ (Tier) ตามความสำคัญของข้อมูลที่มีต่อธุรกิจ แล้วเลือกย้ายข้อมูลที่ไม่มีการเคลื่อนไหว (Inactive data) จากแอพพลิเคชั่นหรือระบบจัดเก็บข้อมูลหลัก รวมทั้งจากสำนักงานสาขา, Microsoft SharePoint, ระบบ NAS, อีเมลและแหล่งอื่นๆ ไปไว้ที่ระบบ Object Storage ทำให้องค์กรสามารถลดเนื้อที่ในการจัดเก็บที่ต้องใช้ในการสำรองข้อมูลได้ประมาณ 30%

ขั้นตอนที่ 2: Back up less (การสำรองข้อมูลให้น้อยลง) : เป็นการสร้างประสิทธิภาพในขั้นตอนของการสำรองข้อมูล เนื่องจากข้อมูลต่างๆที่นำมาเก็บไว้ในระบบ Object Storage ยังคงมีความสำคัญกับธุรกิจ ดังนั้นอุปกรณ์จัดเก็บ Object Storage หรือ Content Platform นี้ต้องมีคุณสมบัติช่วยการปกป้องข้อมูลไปในตัว ช่วยลดระยะเวลาการ downtime และสามารถตอบสนองข้อกำหนดของช่วงเวลาที่ยอมให้ข้อมูลสูญหาย (Recovery Point Objective) และระยะเวลาที่ยอมรับได้ในการกู้คืนข้อมูล (Recovery Time Objective) ได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้น ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับดิสก์ และเทป ลดค่าใช้จ่ายใน license และเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงค่าใช้จ่ายของการบริหารจัดการ

ขั้นตอนที่ 3: Consolidate more (การผสานรวมให้มากขึ้น) : เนื่องจากระบบ NAS ในปัจจุบันต้องรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาล ส่งผลให้จำนวนเซิร์ฟเวอร์ไฟล์ ระบบจัดเก็บข้อมูล และระบบสำรองข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมาก สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้การใช้งานไม่มีประสิทธิภาพ เพิ่มค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนในการบริหารจัดการ ความจุที่มีอยู่ไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างเต็มที่ ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบหลักช้าลง และอัตราต้นทุนต่อมูลค่าของข้อมูลและระบบจัดเก็บข้อมูลขาดความสมดุล ดังนั้นการผสานรวม (Consolidate) ไปยังระบบ Unified Storage หรือ แพลตฟอร์ม NAS จะทำให้สามารถบริหาร workloads ได้มากขึ้นในระบบที่ซับซ้อนน้อยลง เปลี่ยนจากระบบจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่แยกออกจากกันในส่วนต่างๆ (Silo) ไปเป็นแพลตฟอร์มบริหารจัดการบูรณาการแบบองค์รวมและพร้อมรองรับข้อมูลทุกประเภท

ขั้นตอนที่ 4: Distributed IT efficiency (บริหารจัดการประสิทธิภาพไอทีในสาขาต่างๆด้วยกลยุทธ์ด้านไอทีแบบรวมศูนย์) ธุรกิจที่มีสำนักงานหลายสาขาเป็นจำนวนมาก (Remote Office Branch Office(ROBO) เช่น ธุรกิจค้าปลีก ระบบธนาคารออนไลน์ ฯลฯ มักมีความท้าทายในเรื่องของต้นทุนและความซับซ้อนในการจัดการระบบไอทีในสำนักงานระยะไกล สำนักงานสาขา หรือศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่หลายแห่ง รวมถึงความต้องการในการใช้ข้อมูลที่ตรงกันแบบเรียลไทม์ และค่าใช้จ่ายในเจ้าหน้าที่ไอทีในการดูแลสำนักงานสาขา การใช้กลยุทธ์ไอทีแบบรวมศูนย์จะช่วยตอบโจทย์การบริหารจัดการประสิทธิภาพไอทีในสาขา เมื่อนำ HCP เข้ากับ Hitachi Data Ingestor องค์กรจะสามารถใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ Edge-to-Core ต่อยอดจากข้อมูลของส่วนกลางไปยังสาขาต่างๆ ที่จะช่วยให้ขั้นตอนการสำรองข้อมูลทั้งหมดมีประสิทธิภาพและลดระยะเวลาในการสำรองข้อมูลได้อย่างมาก

ขั้นตอนที่ 5: Enable e-discovery and compliance (เอื้อต่อการปรับใช้ E-Discovery และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ) : องค์กรธุรกิจสามารถเพิ่มระบบจัดทำดัชนี ค้นหาและสืบค้นระบบไฟล์และระบบเนื้อหาที่มีอยู่ ด้วย Hitachi Data Discovery Suite ผู้ใช้จะสามารถค้นหา ระบุ รวบรวม และเก็บรักษาข้อมูลได้ครอบคลุมทั้งโครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลจากตำแหน่งที่ตั้งที่ปลอดภัยระดับ1 เพื่อการบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสอดคล้องกับกฏข้อบังคับในข้อมูล เพื่อให้การค้นหาข้อมูลข้ามแพลตฟอร์ม ได้อย่างง่ายดาย ทั้งในส่วนที่เป็นระบบงาน production และส่วนข้อมูลจัดเก็บเพื่อสืบค้น (Archive) โดยทั้งหมดนี้ดำเนินการผ่านอินเตอร์เฟสเดียวเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 6: Facilitate cloud (รองรับการใช้งานระบบคลาวด์) : องค์กรจำนวนมากต้องการให้ระบบไอทีของตนมีความคล่องตัวมากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองผู้ใช้ในส่วนต่างๆของธุรกิจได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ระบบที่รองรับการต่อยอดคลาวด์โซลูชั่น จึงเป็นสุดยอดปรารถนาขององค์กรที่มีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนเริ่มแรกในการลงทุน องค์กรสามารถมีทางเลือกได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่ การริเริ่มลงทุนในเทคโนโลยีและโซลูชั่นคลาวด์ที่องค์กรสามารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง อีกทางเลือกคือการเลือกใช้บริการที่เปลี่ยนจากการลงทุน (CAPEX) เป็นค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน (OPEX) ในรูปแบบ "จ่ายเมื่อใช้งาน" แทน

หนึ่งในคุณสมบัติของแพลตฟอร์ม HCP ในเรื่องการบริหารจัดแบ่งพื้นที่การใช้งาน (Multi-tenancy) ดังที่กล่าวมาข้างต้น จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการรองรับการใช้งานระบบคลาวด์ได้อย่างดี และเมื่อต่อยอดด้วยโซลูชั่น Hitachi Content Platform Anywhere (HCP Anywhere) จะช่วยสนับสนุนการนำอุปกรณ์พกพาของพนักงานเองมาใช้ในที่ทำงาน ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้จากทุกที่ทุกเวลาผ่านทางอุปกรณ์ใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำการสำรองข้อมูลในอุปกรณ์มือถือและแล็ปท็อป และสามารถแชร์ข้อมูลดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย โดยผ่านระบบคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ภายใต้ดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรเอง ถือเป็นความมั่นคงปลอดภัยระดับ enterprise class

“A-B-C Strategies จึงนับเป็นอีกกลยุทธ์เชิงรุก ที่ทางฮิตาชิฯนำเสนอเพื่อตอบโจทย์องค์กร ด้วยโซลูชั่นการบริหารจัดการข้อมูลไฟล์และเนื้อหา (Files and Contents) จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการข้อมูลทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างได้อย่างครบวงจรชีวิตของข้อมูล ตั้งแต่การสร้าง จัดเก็บ ไปจนถึง การหมดอายุ และการทำลายทิ้งของข้อมูล ด้วยกลยุทธ์ โซลูชั่น และซอฟแวร์บริหารจัดการที่เหมาะสม” นายมารุต กล่าวทิ้งท้าย
# # # # # # #



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์  Hitachi Data Systems 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม