ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนา
แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา ดวงฤทัย ลำพุทธา
สังกัด โรงเรียนบ้านเหล่าหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะเป็นที่นิยมใช้กันมากในสถาบันการศึกษา เพราะเป็นการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศในลักษณะสื่อหลายมิติที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเหล่าหลวง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ที่เรียนรายวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 16 คน จาก 1 ห้อง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 - 0.73 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.85 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมุติฐานโดยการใช้ t-test
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.15/85.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80
2. แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) เท่ากับ 0.69
3. นักเรียนมี
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
สรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ