|
กลายเป็นข่าวใหญ่โตคึกโครมและสร้างความแตกตื่นให้กับประชาชนหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กรณีข่าวลือว่า“ เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่”ที่ติดตั้งอยู่ตามหมู่บ้าน ชุมชนและอาคารตึกสูงต่าง ๆ อาจมีสัญญาณความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ที่อาศัยหรือทำงานใกล้ ๆ ล่าสุดชาวบ้านที่จังหวัดพะเยาและที่จังหวัดสระแก้วที่อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ได้รวมตัวประท้วงคัดค้าน โดยอ้างว่า เป็นสาเหตุของการล้มป่วย ปวดศีรษะ ใจสั่นนอนไม่หลับ และมีบางคนวิตกกังวลถึงขั้นที่ว่า สัญญาณความถี่คลื่นแม่เหล็กอาจจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งและอัลไซเมอร์ ว่าไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลกที่กระแสวิตกกังวลและตื่นกลัวของประชาชนทั่วประเทศจะเกิดขึ้นมา เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการต่างเร่งขยายเครือข่ายรองรับการเติบโตของคลื่น 3G เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้า ซึ่งต้องยอมว่า โทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นแม้แต่เด็กหรือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีกระแสของสมาร์ทโฟนที่รวบรวมความสามารถของโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ตและคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแล้ว โทรศัพท์มือถือจึงกลายเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพมาก และผูกพันอยู่กับกิจวัตรกิจกรรมของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่อยู่ตลอดเวลา จากกระแสความตื่นกลังของชาวบ้านทำให้สื่อต่าง ๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์และสื่อออนไลลงพื้นที่ไปตรวจสอบกันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมและค้นคว้าผลวิจัยต่าง ๆ สุดท้ายได้ข้อสรุปพร้องกันว่า สัญญาณโทรศัพท์ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งหรือโรคอัลไซเมอร์!
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อย่างไรก็ตาม กระแสวิพากษณ์วิจารณ์ก็ยังคงไม่จบ ดังนั้น เพื่อความกระจ่างชัดในเรื่องนี้ “ทีมข่าวสยามรัฐ”ได้ไปสอบถามความคิดเห็นของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญและกูรูด้านสื่อสารโทรคมนาคม ลองมาฟังความคิดเห็นกันค่ะ! เริ่มจากหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลคลื่นความถี่โดยตรง “กสทช.” หรือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ “นายชัยยุทธ มังศรี” ผู้อำนวยการกลุ่มรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภค กสทช. กล่าวว่า การติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือทุกแห่งในประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ คลื่นความถี่ที่ส่งออกไปจะไม่เกินมาตรฐานอย่างแน่นอน นอกจากนี้ เมื่อติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็จะมีการศึกษาอย่างรอบคอบ และตรวจสอบอย่างละเอียดจากนักรังสีวิทยา ซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ กสทช.กำหนดไว้จึงจะสามารถติดตั้งได้ ทั้งนี้ กสทช.ขอยืนยันว่า คลื่นความถี่ที่ส่งออกจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือก่อให้เกิดโรคมะเร็งตามที่ประชาชนกังวล ซึ่งมีกรณีที่เกิดขึ้นล่าสุดบ้านน้ำแวน จังหวัดพะเยา มีประชาชนไปร้องที่ศาลปกครองขอให้ยกเลิกติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ โดยอ้างว่าจะกระทบต่อสุขภาพของชุมชน แต่ ปรากฏว่า ศาลมีคำสั่งไม่ความคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากได้มีการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว ไม่มีเหตุผลที่ระบุได้ว่า สัญญาณความถี่คลื่นแม่เหล็กที่ส่งออกไปเกิดอันตราย และนอกจากจะไม่เกินมาตรฐานแล้วยังพบว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานอีกถึง 1,000% ด้วย ส่วนที่มีประชาชนกล่าวอ้างว่า มีอาการปวดศรีษะ นอนไม่หลับนั้นเป็นการอุปาทานขึ้นเอง
|
|
|
|
|
|
|
นอกจากนี้ ที่เป็นข่าวใหญ่โตคือ เรื่องที่นายสุพล สุขศรีมั่งมี อดีตอาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยื่นฟ้องผู้ให้บริการรายหนึ่งต่อศาลแพ่ง โดยอ้างว่า ทำให้ความจำเสื่อมพร้อมเรียกค่าเสียหายจำนวน 200 ล้านบาทนั้น ล่าสุดศาลก็มีคำสั่งยกฟ้องไปในที่สุด และกรณีดังกล่าวแม้นายสุเมธ วงศ์พานิชเลิศ กรรมการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ซึ่งเคยทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงก็ไม่ระบุชัดว่า คลื่นความถี่แม่เหล็กที่ส่งออกจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เกิดอันตราย นายยงยุทธยังได้เปรียบเทียบความแรงของคลื่นความถี่ที่ส่งออกจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์กับคลื่นต่าง ๆ ที่กระจายอยู่รอบตัวเราว่า จริง ๆ แล้วคลื่นที่ส่งออกจากสถานีวิทยุชุมชนนั้น มีอันตรายมากกว่าคลื่นความถี่จากเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือด้วยซ้ำ เพราะมีกำลังส่งที่แรงกว่า พร้อมชี้ว่า คลื่นจากโทรศัพท์มือถือที่โทรติดต่อระหว่างกัน มีอันตรายมากกว่า! โดยเฉพาะหากมีการใช้โทรศัพท์นาน ๆ เนื่องจากมีรังสีของคลื่นความร้อนกระจายออกมา
|
|
|
|
|
|
|
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเมื่อประชาชนร้องเรียนเข้ามา ทาง กสทช. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบอย่างใกล้ชิด และได้ทำความเข้าใจให้กับประชาชนอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า คลื่นเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่มีอันตรายแต่อย่างใด “กสทช.ยืนยันอีกครั้งว่า สัญญาณที่ส่งออกจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ไม่มีอันตราย เพราะส่งสัญญาณความถี่แม่เหล็กแนวนอน ซึ่งสัญญาณจะกระจายออกไป คนที่อยู่ใกล้จะได้รับสัญญาณน้อยว่าคนที่ไกลด้วยซ้ำ และที่ตึกของ กสทช. เองก็มีเสาส่งสัญญาณที่สูงที่สุดในประเทศ ซึ่งก็ไม่เคยมีอันตรายเกิดขึ้นเลย”
|
|
|
|
|
|
|
ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.ถวิล พึ่งมา นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมโทรคมนาคม และอดีตอธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ที่ตั้งตามชุมชนและอาคารสูงต่าง ๆ ซึ่งส่งคลื่นความถี่แม่เหล็กออกไปมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนน้อยมาก แท้จริงขณะที่เรานั่ง เดินหรือทำงานอยู่ก็จะมีคลื่นผ่านรอบ ๆ ตัวเรามากมาย เช่น คลื่นทีวี ที่ตอนนี้เรามีอยู่หลายร้อยช่อง รวมทั้งคลื่นวิทยุ คลื่นมือถือจะผ่านตัวเราตลอดเวลา คลื่นที่ส่งมาเป็นคลื่นทั่ว ๆ ไป ผู้คนจะไม่คิดอะไร เนื่องจากคลื่นสถานีโทรทัศน์อยู่ไกล ซึ่งคลื่นเหล่านี้ไม่เคยเกิดอันตรายต่อมนุษย์
สำหรับกรณีที่หลายคนเป็นวิตกกังวลว่า หากสถานีฐานอยู่ใกล้ตัวจะมีอันตรายมากนั้น ความเป็นจริงเป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ตรงกันข้าม ถ้าเครื่องอยู่ใกล้กับสถานีฐาน สถานีฐานกับเครื่องตัวที่เราใช้ จะลดกำลังลงน้อยที่สุด นั่นคือ เหลือเป็นมิลิวัตถ์เท่านั่นเอง ในขณะที่เราอยู่ห่างจากสถานีฐานจึงจะเพิ่มกำลังขึ้นโดยทั่วไปก็จะเพิ่มกำลังเป็น 64 เท่า ฉะนั้น คนที่ใช้โทรศัพท์และอยู่ใกล้สถานีฐานคือ เสาสัญญาณโทรศัพท์จะมีความปลอดภัยมากกว่าคนที่อยู่ไกลสถานีฐาน
|
|
|
|
|
|
|
พร้อมกันนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ถวิลยังชี้ว่า คลื่นสัญญาณวิทยุ ทีวีและโทรศัพท์มือที่ส่งออกมา เป็นเรื่องที่ตอบได้ยากว่าคลื่นความถี่อะไรมีความแรงมากกว่า เนื่องจากการส่งเป็นคนละรูปแบบ เช่น มีการบอร์ดแคส ซึ่งจะเห็นได้ว่า สถานีหนึ่ง ๆ นั้นจะพยายามให้ส่งไปได้ไกล ๆ ฉะนั้นเครื่องส่งจะมีกำลังส่งเป็น 10-50 กิโลวัตถ์ซึ่งเยอะมาก ฉะนั้นตรงนั้นคนที่บ้านอยู่ใกล้ ๆ สัญญาณส่งวิทยุและโทรทัศน์ที่มีกำลังส่งเป็น 10 กิโลวัตถ์ยังไม่รู้สึกอะไรเลย ฉะนั้น การที่มีชาวบ้านส่วนหนึ่งอยู่ใกล้กับเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์บอกว่า มีอาการปวดศีรษะ ความจำเสื่อม จึงเป็นเรื่องของการอุปาทานมากกว่า ซึ่งทางวิศวกรรมได้บอกชัดเจนว่า ไม่จริง แต่การหลบเลี่ยงที่ไม่ให้ส่งผลกระทบคือ การไม่ใช้โทรศัพท์มือถือหรือใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นตรงนี้จะช่วยได้ ในทางทฤษฏีแล้วเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มี 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เรียกว่า สถานีแม่หรือสถานีฐานที่ติดตั้งตามพื้นที่ต่าง ๆ และหลังคาตึก ส่วนที่ 2 คือเครื่องรับสัญญาณที่ติดอยู่เครื่องมือถือ เมื่อเราใช้โทรศัพท์มือถือพูดคุย ถ้าอยู่ใกล้สถานีแม่ก็จะส่งสัญญาณเข้าเครื่องมือถือเราน้อย แต่ถ้าอยู่ห่างจากสถานีแม่สัญญาณที่ส่งไปก็จะเพิ่มความแรงขึ้นตามระยะทาง ซึ่งนั่นหมายความว่า ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถืออยู่ใกล้เสาสถานีจะมีอันตรายน้อยกว่าผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือที่อยู่ไกลจากสถานีฐานด้วยซ้ำ
|
|
|
|
|
|
|
ส่วนการที่หลายคนกังวลว่า เสาส่งสัญญาณที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาตึกจะทำลายระบบสมอง ระบบประสาทหรือทำให้เกิดโรคมะเร็งนั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากทางวิศวกรรมศาสตร์ได้พิสูจน์แล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ โทรศัพท์มือถือที่ถืออยู่กับตัว เวลาใช้เราจะใช้โทรศัพท์แนบที่หู ซึ่งห่างจากสมองเราประมาณ 1 เซ็นติเมตรเท่านั้น ฉะนั้น จึงเรียนว่า ประการที่หนึ่ง หากท่านกังวลเรื่องสัญญาณรบกวนสมองก็อย่าใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ใช่การไปห้ามตั้งเสาสถานีส่งสัญญาณ ซึ่งเป็นสถานีฐาน
|
|
|
|
|
|
|
ประการที่สอง ในกรณีที่ท่านใช้โทรศัพท์มือถือควรใช้เท่าที่จำเป็น เพราะเมื่อใช้นาน ๆ จะเกิดความเครียดทางสมองจาก 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 การสนทนา ส่วนที่ 2 ความร้อนจากเครื่องโทรศัพท์จากแบตเตอรี่ก็จะทำลายระบบสมองได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือปกติไม่น่าเป็นห่วง เพราะทั่วโลกก็ใช้กันแบบนี้ ถ้ามีอันตรายเขาคงเลิกใช้กันหมดแล้ว
|
|
|
|
|
|
|
ฟังความทัศนะและข้อมูลของนักวิชาการและกูรูด้านโทรคมนาคมของไทยมามากแล้ว เราลองไปดูบทวิจัยและฟังทัศนะความคิดเห็นของกูรูด้านนี้ในต่างประเทศกันบ้าง! เริ่มจากผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารมะเร็งแห่งชาติ (Journal of the National Cancer Institute) ล่าสุดได้ออกมาตีแสกหน้างานวิจัยก่อน ๆ อย่างสิ้นเชิงว่า ไม่พบการเชื่อมโยงใด ๆ ระหว่างโทรศัพท์มือถือกับการเกิดเซลล์มะเร็งจากกลุ่มทดลองเด็กและวัยรุ่น!! โดยนักวิทยาศาสตร์ มาร์ติน รูซลี่ (Martin Roosli) แห่งสถาบันสาธารณสุขเขตร้อนบาเซิลในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้ทดลองกับอาสาสมัครเด็ก และ วัยรุ่น อายุระหว่าง 7-19 ปี สุขภาพดี 1,000 ราย จากหลายประเทศในยุโรป โดยเปรียบเทียบการใช้งานโทรศัพท์มือถือกับภาวะเนื้องอกในสมอง ปรากฏว่า ไม่พบการตอบสนองใด ๆ ในแง่ของปริมาณการใช้โทรศัพท์มือ ที่มีต่ออัตราการแปลผันของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า การได้รับสัญญาณจากเสาโทรศัพท์มือถือช่วงสั้น ๆ จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเจ็บป่วย โดยนักวิจัยชาวอังกฤษ เป็นผู้ที่ได้ทำการศึกษาเพื่อให้ความกระจ่างในผู้ที่อ้างว่าได้รับผลกระทบจากสัญญาณมือถือ ซึ่งในการศึกษานั้น ผู้เข้าร่วมการศึกษาไม่สามารถบอกได้หรือไม่ว่า ตนเองนั้นกำลังได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปัญหาทางสุขภาพที่เชื่อว่า เกิดจากการใช้มือถือ อาทิ อาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ และมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่นั้น อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น โดย “เอเลี่ยน ฟ็อก( Elaine Fox)”นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเอสซิกส์ เมืองโคลเชสเตอร์ หัวหน้าทีมวิจัยเรื่องนี้กล่าวว่า ปัญหานี้บางทีอาจเป็นแค่ผลทางจิตวิทยา
|
|
|
|
|
|
|
ทั้งนี้ มีคนอังกฤษ ราว 4% อ้างว่า ได้รับผลกระทบจากคลื่นวิทยุที่ปล่อยออกมาจากมือถือและเครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ ดังนั้น ฟ็อกและเพื่อนร่วมงานจึงได้ทดสอบกับอาสาสมัคร 44 คนที่อ้างว่าได้รับความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลจากการได้รับสัญญาณโทรศัพท์ และผู้เข้าร่วมทดสอบอีก 114 คนที่ไม่รู้สึกว่าเกิดผิดปกติใดจากการใช้โทรศัพท์ โดยทีมงานได้ทำการสร้างห้องปฏิบัติการที่จำลองเครื่องส่งสัญญาณโทรศัพท์ทั้งที่เป็นระบบเก่าและระบบใหม่อย่างเช่น 3G เมื่อได้แจ้งว่า มีการปล่อยสัญญาณออกไปนาน 50 นาทีให้แก่ผู้ร่วมทดสอบทราบ ผู้เข้าร่วมทดสอบบางรายที่มีความอ่อนไหว จะแสดงความวิตกกังวล ความอึดอัดและมีอารมณ์ตึงเครียดกว่าสูงปกติ เมื่อได้ถามคนเหล่านี้ว่าสัญญาณขณะนี้ได้ทำการปิดหรือเปิดอยู่ พบว่ามีอาสาสมัครเพียง 2 รายใน 44 รายที่เป็นผู้ที่รู้สึกอ่อนไหวตอบถูกทั้ง 6 ครั้งในการทดสอบ 6 รอบและมีอาสาสมัครในกลุ่มควบคุมเพียง 5 คนเท่านั้นที่ตอบถูก และความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นจากการรายงานของอาสาสมัครจะเกี่ยวข้องกับ จังหวะการเต้นของหัวใจ อาการเหงื่อออก ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะมีการเปิดหรือปิดสัญญาณหรือไม่ก็ตาม การศึกษาทั้งหมดนี้ผู้วิจัยได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร the journal Environmental Health Perspectives
|
|
|
|
|
|
|
ผลการศึกษานี้ได้บอกเป็นนัยว่า ถึงแม้อาการของผู้ร่วมทดสอบจะเกิดขึ้นจริงก็ตาม แต่อาการเหล่านี้อาจได้รับการกระตุ้นจากความเข้าใจที่ว่าพวกเขาได้อยู่ใกล้กับเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์จริง ๆ มากกว่าที่จะเป็นผลจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งก็ตรงกับความเป็นจริงที่ว่ามนุษย์นั้น ไม่มีเซลล์รับรู้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหมือนกับสัตว์บางชนิด เช่น ฉลาม เป็นต้น ฟ๊อกและเพื่อนร่วมงานได้มองในประเด็นนี้ยังไม่มีกลไกใดที่ได้รับการพิสูจน์แน่ชัดว่า สัญญาณโทรศัพท์ก่อให้เกิดความเจ็บป่วย หัวหน้าทีมวิจัยจากอังกฤษระบุว่า มีหลายคนในกลุ่มคนเหล่านั้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่จริง ๆ คนเหล่านี้ถ้าเชื่อว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นต้นเหตุแล้ว พวกเขาจะไม่มองถึงความเป็นไปได้ในเรื่องอื่นเลย ตัวกระตุ้นทางจิตวิทยายังคงน่าจะเป็นกลไกที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุด ถ้าเราปวดหัวขณะอยู่ในรถไฟแล้วบังเอิญไปเห็นใครสักคนกำลังใช้โทรศัพท์อยู่ คุณก็อาจจะเอามันมาเชื่อมโยงกัน ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องปกติทีเดียว
|
|
|
|
|
|
|
ด้าน ศาสตราจารย์พอล เอลเลียด จากวิทยาลัยอิมพีเรียล ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่ออกมากล่าวถึงกรณีที่ประชาชนส่วนใหญ่กังวลกับการอาศัยอยู่ใกล้กับเสาส่งสัญญาณบริการโทรศัพท์มือถือว่าอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก ๆ แต่จากการศึกษาไม่พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ใกล้กับเสาสัญญาณดังกล่าว ลูกที่ออกมาจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่าเด็กที่อาศัยอยู่ไกลออกไปแต่อย่างใด แท้จริงแล้ว รอบ ๆ ตัวเราทุกวันนี้ มีสัญญาณคลื่นความถี่ต่าง ๆ มากมายทั้งคลื่นวิทยุ โทรทัศน์และโทรศัพท์มือถือ แต่ยังไม่เคยพบว่าก่อให้เกิดอันตรายอย่างใด ในทางตรงกันข้ามกับพบว่า คลื่นสัญญาณเหล่านี้มีประโยชน์มหาศาลต่อมวลมนุษยชาติในการใช้ติดต่อสื่อสารถึงกัน
โดยเฉพาะเมื่อมนุษย์ต้องประสบกับภัยพิบัติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นดินไหว น้ำท่วม วาตภัยหรือแม้กระทั่งเหตุอุบัติเหตุ เพราะหากสัญญาณเครือข่ายยังสามารถติดต่อได้ การเข้าไปช่วยเหลือก็ทำได้ทันท่วงที แต่หากไม่มีสัญญาณเหล่านี้ การสูญเสียก็ยิ่งจะเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ถึงตรงนี้คงจะสบายใจได้แล้วว่า เสาส่งสัญญาณไม่มีอันตรายและไม่มีผลกระทบต่อคลื่นสมองของมนุษย์และมีผลต่อสุขภาพ และที่สำคัญในการติดตั้งสถานีฐานในประเทศไทยนั้น ทางกสทช.ก็มีกฎระเบียบชัดเจน ซึ่งผู้ประกอบการต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการติดตั้งอย่างเด็ดขาด เสาสัญญาณโทรศัพท์ไม่มีอันตรายอย่างที่คิด... อย่าไปวิตกกังวลมากเกินกว่าเหตุเลย
http://www.siamrath.co.th/web/?q=%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94
|
|
|
|
|
|
Wuti
|
ที่ยกตัวอย่างมายังไม่หมดมี งานวิจัยทึ่บอกว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ปล่อยออกจากเสาส่งสัญญาณ มีอันตรายมาก งานวิจัยทดสอบในระดับความเข้มต่ำกว่ามาตราฐาน กสทช. 1000 เท่า พบอันตรายมาก เพราะอย่างนี้องค์กรอนามัยโลคให้คลื่นแม่เหล็กเป็น สารก่อมะเร็งระดับ 2B แม้แต่องค์กรอนามันโรคยังไม่รุบหรือปฏิเสธ แต่ กสทช. บอกประชาชนได้อย่างไงว่าปลอดภัย หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุน จึงปิดหูปิดตาประชาชน
|
|
|
|
|
|
Wuti
|
ที่ยกตัวอย่างมายังไม่หมดมี งานวิจัยทึ่บอกว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ปล่อยออกจากเสาส่งสัญญาณ มีอันตรายมาก งานวิจัยทดสอบในระดับความเข้มต่ำกว่ามาตราฐาน กสทช. 1000 เท่า พบอันตรายมาก เพราะอย่างนี้องค์กรอนามัยโลกให้คลื่นแม่เหล็กเป็น สารก่อมะเร็งระดับ 2B แม้แต่องค์กรอนามันโลดยังไม่รับหรือปฏิเสธ แต่ กสทช. บอกประชาชนได้อย่างไงว่าปลอดภัย หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุน จึงปิดหูปิดตาประชาชน
|
|
|
|
|
|
Chakree
|
Wednesday, September 7, 2016 . "National Toxicology Program Finds Cell Phone Radiation Causes Cancer" . http://www.saferemr.com/.../national-toxicology-progam... จะเชื่อคนเขาบอก หรือจะเชื่อผลงานวิจัยของหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ในกำกับของรัฐบาลสหรัฐอเมริกัน
|
|
|
|
|
|
Weerachaijampahway@gmail.
|
หรือประชาชนที่อยู่ไกล้เสาส่งสัญญาณ ต้องอยู่อย่างหนูทดลองอย่างนั้นหรือ เพื่อความเจริญ5555
|
|
|
|
|
|
|