วันนี้ที่๑ พย ๒๕๕๖ เครือข่ายประชาชนข้างต้น ได้ยื่นหนังสือต่อเลขาผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง
๑ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ ให้กรอบการเจรจาการค้าไม่ผ่านสภา เป็นการรวบรัดอำนาจ ทั้งหมด อยู่ที่คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๕๗ ๕๘ , ๗๘(๔,๕) , ๘๗(๒,๓) ,๑๖๕, ๑๗๕
๒ การตรากฎหมายนิรโทษกรรม ที่จะเอาอำนาจนิติบัญญัติ และบริหารไปลบล้าง อำนาจตุลาการ ซึ่งขัด หลักการปกครองที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย หลักการแห่งการแบ่งแยกอำนาจ
อีกทั้ง ถ้าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา ๓ มีเจตนาและมุ่งหมายที่ จะลบล้างให้คดีทุจริตคอร์รัปชันทั้งหมด ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ซึ่งขัดต่อเจตนารมย์ของอนุสัญญาขององค์การ สหประชาชาติเพื่อการ ต่อต้านการทุจริต (United Convention against Corruption :
UNCAC 2003) รวมทั้งขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา มาตรา ๘๒ ที่ รัฐต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญา และพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับ นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ หากพรบ.นิรโทษกรรมประกาศใช้ การที่มีนักการเมืองที่ฉ้อโกง ประชาชน ไม่ว่าเรื่องจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือทุจริตทุกคดี ก็จะถูกนิรโทษกรรมไปด้วย ซึ่งนักการเมือง ก็จะมีผลประโยชน์ทับซ้อน
อีกทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งประธานรัฐสภา และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน ของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ นำเสนอกฎหมาย ผ่าน ร่างพรบ.นิรโทษกรรม ฉบับนี้ ถือว่าปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเอง หรือ คนใดคนหนึ่งที่กำลังถูกตรวจสอบ ความผิดฐาน ฉ้อโกง หรือได้กระทำความผิดที่ได้ตัดสินไปแล้ว ถือว่าทำหน้าที่ ขัด กฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดเป็นเจ้า พนักงาน มีหน้าที่จัดการ เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อ ประโยชน์สำหรับ ตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วย กิจการนั้น คือการเสนอ กฎหมายนิรโทษกรรม และ ขัดกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
๓ . ประเด็นการใช้บังคับ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พศ ๒๕๕๑ ทั้งๆที่ยังไม่มี เหตุอันสมควร เป็นการรอน สิทธิประชาชน โดยตรงในยามที่บ้านเมืองเป็นปกติ ซึ่งสิทธินี้ถือว่า เป็นเสาหลักสำคัญหลักหนึ่ง ของระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งรัฐบาลได้ ฉวยโอกาสในช่วงเวลาการออกกฎหมายความมั่นคง เพื่อผ่าน กฎหมายสำคัญๆที่เอื้อประโยชน์ ต่อตนเอง และพวกพ้อง เช่นกฎหมายนิรโทษกรรม และรัฐธรรมนูญ ๑๙๐
อีกทั้งการกระทำของคณะกรรมาธิการ รัฐสภา ซึ่งล้วนเป็น ข้าราชการการเมือง จักต้องปฏิบัติ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองพ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่มาตรา ๒๗๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้มาตรฐานทางจริยธรรม ของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภทให้เป็นไป ตามประ มวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น โดยให้ ให้นายก รัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ โดยข้าราการการเมืองจักต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม คือต้องยึดมั่น ในคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และข้าราชการ การเมืองต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่น ใช้สถานะหรือตำแหน่ง การเป็นข้าราชการ การเมือง ไปแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้ โดยชอบด้วย กฎหมายสำหรับ ตนเองหรือผู้ อื่นไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ ในทาง ทรัพย์สิน หรือไม่ ก็ตามซึ่ง
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล การประพฤติปฏิบัติตนของรัฐมนตรี ข้าราชการการเมืองอื่นๆ ตามข้อบัญญัติที่๓๐