เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยเน้นทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ฟ้อนออนซอนนครหล่มสัก สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย กรรณิการ์ อยู่เชื้อ
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ฟ้อนออนซอนนครหล่มสัก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ฟ้อนออนซอนนครหล่มสัก 3) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์โดยเน้นทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ฟ้อนออนซอนนครหล่มสัก กับเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง ฟ้อนออนซอนนครหล่มสัก เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แบบวัดทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ ชุด ฟ้อนออนซอนนครหล่มสัก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test for dependent) และการทดสอบค่าที (t- test for one sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ฟ้อนออนซอนนครหล่มสัก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 86.37 / 83.82 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยเน้นทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ฟ้อนออนซอนนครหล่มสัก สูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ฟ้อนออนซอนนครหล่มสัก หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05