หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: การประชุมนานาชาติเตรียมเผยความก้าวหน้าในการป้องกันและควบคุมโรคไข้ไทฟอยด์  (อ่าน 35 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 5 มี.ค. 13, 09:04 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

เมืองธากา บังคลาเทศ--28 ก.พ.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมการประชุมนานาชาติเรื่องไข้ไทฟอยด์ และโรคในกลุ่มซัลโมเนลล่าระยะลุกลามครั้งที่ 8 ณ เมืองธากา ประเทศบังคลาเทศ

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพระดับภูมิภาค และนานาชาติ จะเข้าร่วมประชุมในเมืองธากา บังคลาเทศ วันที่ 1 – 2 มีนาคม 2556 เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นความก้าวหน้าในการควบคุม และป้องกันไข้ไทฟอยด์ โรคไข้เอ็นเทอริค (โรคที่เกิดจากไทฟอยด์ หรือ พาราไทฟอยด์) และโรคที่เกิดจากเชื้อซัลโมเนลล่าระยะลุกลาม ซึ่งรวมไปถึงข่าวสารด้านการพัฒนาและการประกาศใช้วัคซีนรุ่นต่อไป การประชุมนานาชาติเรื่องไข้ไทฟอยด์ และโรคในกลุ่มซัลโมเนลล่าระยะลุกลามครั้งที่ 8 จัดขึ้นโดยสำนักงานเลขาธิการประสานงานต่อต้านไทฟอยด์ (Coalition against Typhoid / CAT) ร่วมกับพันธมิตรอย่าง icddr,b, สมาคมกุมารแพทย์บังคลาเทศ (Bangladesh Pediatric Association / BPA) และสถาบันวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine Institute / IVI)

ดร. คริสโตเฟอร์ เนลสัน (Christopher Nelson) ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ CAT สถาบันวัคซีน กล่าวว่า “การประชุมในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมหัวข้อสนทนาที่สำคัญระหว่างแพทย์ นักวิจัย และผู้นำของรัฐบาลจากทั่วโลก และทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยจะมีการหารือเกี่ยวกับโรคไทฟอยด์ซึ่งมีอัตราการเกิดโรคสูงในภูมิภาค และวิธีการช่วยควบคุมโรคโดยใช้วัคซีนไทฟอยด์ รวมถึงการป้องกันโรคไทฟอยด์”

โรคไข้ไทฟอยด์ และโรคไข้เอ็นเทอริค ได้แพร่ระบาดไปยังชุมชนต่างๆที่ไม่มีน้ำประปาสะอาด และสุขอนามัยพื้นฐาน จากแพร่กระจายไปตามน้ำ และอาหารที่มีการปนเปื้อน

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคไทฟอยด์ส่งผลกระทบต่อประชากรประมาณ 21 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้มากกว่า 200,000 รายต่อปี โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน และเด็กเล็ก WHO รายงานว่า 90% ของผู้เสียชีวิตด้วยโรคไทฟอยด์เกิดขึ้นในเอเชีย

ดร. ซัลฟิการ์ เอ บูตตา (Zulfiqar A. Bhutta) ประธานผู้ก่อตั้งแผนกสุขภาพเด็ก และสตรี มหาวิทยาลัยอากา คาน (Aga Khan University) เมืองการาจี ปากีสถาน กล่าวว่า “แพทย์จากทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ยกให้ไทฟอยด์เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพร้ายแรง โดยเฉพาะจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น และการแพร่ระบาดของโรคไทฟอยด์ที่มีอาการดื้อยา นอกจากจำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว โรคติดต่อไทฟอยด์ยังส่งผลกระทบต่อการเข้าเรียน การทำงาน และการจำกัดโอกาสในการมีส่วนร่วมของบรรดาผู้ปกครอง และผู้ดูแลอีกด้วย”

หลายประเทศ อาทิ จีน เวียดนาม ไทย ศรีลังกา และเนปาล มีการใช้วัคซีนไทฟอยด์ที่มีอยู่เพื่อควบคุม และป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร. ไชอัม ราช อัพเรติ (Shyam Raj Upreti) ผู้อำนวยการสำนักงานบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขและประชากรแห่งเนปาล กล่าวว่า “เนปาล ได้แสดงให้เห็นว่าโครงการฉีดวัคซีนไทฟอยด์ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดีภายใต้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงศึกษาธิการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ”

แม้จะมีตัวอย่างโครงการฉีดวัคซีนไทฟอยด์ที่ประสบผลสำเร็จในเอเชีย และคำแนะนำจาก WHO ที่จัดให้การฉีดวัคซีนไทฟอยด์เป็นเรื่อง “สำคัญเร่งด่วน” แต่หลายประเทศยังไม่มีการแนะนำ หรือให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนไทฟอยด์

ศาสตราจารย์ ลลิตา เมนดิส (Lalitha Mendis) ประธานกลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคการฉีดวัคซีนของ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEARO) ของ WHO ในนิวเดลี และอดีตประธานสภาการแพทย์ศรีลังกา กล่าวว่า “สมาคมเด็ก และสมาคมอื่นๆทั่วภูมิภาคจัดให้ไทฟอยด์เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพร้ายแรง โดยเฉพาะจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น และการแพร่ระบาดของโรคไทฟอยด์ที่มีอาการดื้อยา โดย Indian Academy of Pediatrics ซึ่งเป็นองค์กรกุมารแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ได้จัดให้วัคซีนไทฟอยด์อยู่ในโปรแกรมการฉีดวัคซีนแห่งชาติ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้จัดทำนโยบายในประเทศต้องตรวจสอบข้อมูลเฉพาะ และดำเนินการควบคู่ไปกับการหารือในประเด็นเรื่องกลยุทธ์ที่เป็นไปได้ และเหมาะสมสำหรับการฉีดวัคซีนไทฟอยด์”

การประชุมระดับนานาชาติเรื่องโรคไข้ไทฟอยด์ และโรคในกลุ่มซัลโมเนลล่าระยะลุกลามครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้การนำ และการสนับสนุนจากองค์กรนานาชาติ อาทิ มูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation และสถาบัน Wellcome Trust Sanger Institute แสดงให้เห็นถึงความพยายามระดับนานาชาติที่จะหาวิธีควบคุม และป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์ โรคไข้เอ็นเทอริค และโรคในกลุ่มซัลโมเนลล่าระยะลุกลาม ซึ่งรวมถึงความพยายามในการพัฒนาวัคซีนรุ่นต่อๆไป และปรับปรุงการวินิจฉัยโรค โดยมี IVI และสำนักงานเลขาธิการ CAT ที่สถาบัน Sabin Vaccine Institute เป็นผู้สนับสนุนด้านการเงิน

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุมนานาชาติเรื่องไข้ไทฟอยด์ และโรคในกลุ่มซัลโมเนลล่าระยะลุกลามครั้งที่ 8 ได้ที่ www.typhoidconference.org

เกี่ยวกับ CAT
สำนักงานเลขาธิการประสานงานต่อต้านไทฟอยด์ (Coalition against Typhoid / CAT) เป็นองค์กรนักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างภูมิคุ้มกันระดับโลกที่ดำเนินการเพื่อรักษาชีวิต และลดการเจ็บป่วยโดยการฉีดวัคซีนไทฟอยด์ในชุมชนที่มีความเสี่ยงเกิดโรคสูง CAT เป็นหนึ่งในพันธมิตรระดับแนวหน้า ด้วยการให้ความสำคัญกับโรคไทฟอยด์ในวาระการประชุมสุขภาพระดับโลก และพัฒนาแผนการทำงานที่ครอบคลุมเพื่อรับมือกับไทฟอยด์ CAT คาดหวังว่า จะขยายพื้นที่การฉีดวัคซีนป้องกันไทฟอยด์ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ CAT ได้ที่ http://www.coalitionagainsttyphoid.org/

เกี่ยวกับ สถาบันวัคซีนซาบิน
สถาบันวัคซีนซาบิน (Sabin Vaccine Institute) เป็นองค์กร 501(c)(3) นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้ให้การสนับสนุนที่ไม่แสวงผลกำไร อุทิศตนเพื่อลดการเจ็บป่วยของมนุษย์โดยการใช้วัคซีนป้องกันโรค และโรคในเขตร้อน องค์กรทำงานร่วมกับรัฐบาล องค์กรเอกชนและองค์กรสาธารณะชั้นนำ รวมถึงสถาบันการศึกษา เพื่อจัดหาวิธีการจัดการกับโรคที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดในโลก สถาบันวัคซีนซาบินก่อตั้งขึ้นในปี 2536 เพื่อเป็นเกียรติให้กับดร. อัลเบิร์ต บี ซาบิน (Albert B. Sabin) ผู้พัฒนาวัคซีนโรคโปลิโอชนิดหยอด สถาบันวัคซีนซาบิน เป็นผู้นำในด้านการควบคุม รักษา และขจัดโรคภัยเหล่านี้โดยพัฒนาวัคซีนใหม่ๆ สนับสนุนการใช้วัคซีนที่มีอยู่ และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ในราคาไม่แพง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ www.sabin.org

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  ไข้ไทฟอยด์ ความก้าวหน้า นานาชาติ การประชุม 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม