เป็น ‘ผู้ใช้การสื่อสารแบบผสมผสาน’ ที่ใช้บริการรับส่งข้อความหลายบริการร่วมกัน
งาน Mobil World Congress, บาร์เซโลน่า--26 ก.พ.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
- อินสแตนท์ เมสเสจจิ้ง (Instant Messaging / IM) เป็นบริการที่หลายคนต้องการที่จะใช้งาน พร้อมกับ SMS ซึ่งเป็นบริการที่ทุกคนให้ความไว้วางใจ และบริการอื่นๆซึ่งมีรูปแบบการใช้ที่เหมือนกัน
- SMS เป็นบริการที่จำเป็น ซึ่งผู้คนจำนวน 76% ระบุว่า ตนเองต้องพึ่งพาบริการ SMS
- 78 % ให้ความสนใจกับบริการจากผู้ให้บริการ อาทิ 'joyn(TM)' ซึ่งสามารถลดการกระจายตัวของข้อความที่บันทึกอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆได้
- แอคซิชั่น (Acision) สนับสนุนให้ผู้ให้บริการเร่งสร้างบริการที่โดดเด่นในตลาดที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอกย้ำความสัมพันธ์ของกิจการ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้จับตาดูพฤติกรรม ความคาดหวัง และวิวัฒนาการการรับ-ส่งข้อความทั้งหมดของผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันผู้ใช้โทรศัพท์มือถือกำลังมองหาบริการรับ-ส่งข้อความที่ดีขึ้นเพื่อการติดต่อสื่อสาร และการเชื่อมโยงติดต่อกัน วิวัฒนาการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดยผลการวิจัยล่าสุดของแอคซิชั่นเรื่องการรับส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ผู้บริโภคเลือกที่จะใช้บริการต่างๆเพิ่มมากขึ้นเพื่อการติดต่อสื่อสาร วันนี้ แอคซิชั่น ผู้นำด้านบริการรับส่งข้อความผ่านมือถือระดับโลก เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ใช้สมาร์ทโฟนในอังกฤษ 80% เลือกใช้บริการแอพพลิเคชั่นเสริม (Over-the-Top / OTT) หรืออินสแตนท์ เมสเสจจิ้ง (Instant Messaging / IM) และ 76% ของคนเหล่านี้ใช้บริการทั้ง SMS, OTT และ IM ร่วมกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในอังกฤษ 76% ใช้บริการรับ-ส่งข้อความหลายรูปแบบพร้อมกันในแต่ละวัน และ 40% ใช้บริการเหล่านี้มาตลอด
ผลการวิจัยประจำปีครั้งที่ 2 ของแอคซิชั่น ซึ่งวิเคราะห์พฤติกรรมการรับ-ส่งข้อความ และความต้องการของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในอังกฤษ ช่วยยืนยันว่าการรับ-ส่งข้อความเป็นตัวอักษรยังคงเป็นบริการรับ-ส่งข้อความที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ SMS มากถึง 96% อันที่จริงแล้ว ผู้ที่ต้องพึ่งพาบริการ SMS มีจำนวนมาก ซึ่ง 76% กล่าวว่า พวกเขาไม่สามารถทำอะไรได้เลยหากไม่มี SMS และ 41% กล่าวว่า พวกเขาขาด SMS ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ขณะที่ SMS เป็นบริการที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือส่วนมาก แอพพลิเคชั่น IM/OTT ก็กำลังได้รับความนิยมเช่นกัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 61% ของบริการรับ-ส่งข้อความในบรรดาแอพพลิเคชั่นต่างๆมากมาย ผู้ตอบรับการสำรวจเกินครึ่งกล่าวว่า พวกเขาสามารถใช้บริการรับ-ส่งข้อความได้หลากหลายรูปแบบตามที่พวกเขาได้สมัครไว้ และ 60% ระบุว่าพวกเขาไม่สามารถทำอะไรได้เลยหากขาดบริการ OTT/IM
ดังนั้น ทำไมผู้ใช้สมาร์ทโฟนจึงใช้แอพพลิเคชั่นรับ-ส่งข้อความหลากหลายรูปแบบ และสิ่งใดจะสามารถยืนยันได้ว่าผู้บริโภคจะยังคงใช้บริการเดียวอยู่ การสำรวจของแอคซิชั่นชี้ให้เห็นว่า ผู้บริโภคมีความต้องการทั้งในด้านราคา คุณสมบัติที่สมบูรณ์แบบ และบริการที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งการรับรองได้ว่าพวกเขาจะสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆได้ทุกเวลาที่ต้องการ ปัจจุบัน ไม่มีบริการใดในตลาดที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ในบริการเดียว ดังนั้นการใช้ SMS พร้อมกับบริการ OTT/IM ในคราวเดียวกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ครอบคลุมความต้องการทั้งหมด
จากผลการสำรวจที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าผู้คนส่วนมากในอังกฤษใช้บริการ SMS เพียงบริการเดียวและครอบคลุมทุกความต้องการ ซึ่งสามารถใช้งานได้กับโทรศัพท์ทุกรุ่นไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม ผู้ตอบรับการสำรวจ 36% ให้ความไว้วางใจบริการ SMS และ 34% ยอมรับในคุณภาพบริการที่สำคัญ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเขาใช้บริการ SMS อย่างไรก็ตาม มีผู้ใช้บริการ OTT/IM เพราะคุณสมบัติด้านความเร็วคิดเป็นสัดส่วน 53% แล้เหตุผลด้านราคาคิดเป็นสัดส่วน 47% นอกจากนี้ ผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากกว่า 1 ใน 3 พึงพอใจในคุณสมบัติที่ดีของ IM ซึ่งได้แก่ บริการแจ้งเตือนการรับ-ส่งข้อความ (39%) สามารถเห็นข้อความที่กำลังส่งตอบกลับมาได้ (34%) และแบ่งปันเนื้อหาได้มาก (29%) อาทิ วีดีโอ และรูปภาพ
เจเอฟ ซัลลิแวน (JF Sullivan) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดบริษัท แอคซิชั่น กล่าวว่า “เรามองเห็นแนวโน้มที่ผู้บริโภคในปัจจุบันใช้บริการรับส่งข้อความจากแพลตฟอร์ม และอุปกรณ์ที่หลากหลายเป็นจำนวนมาก ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าผู้บริโภคต้องการการบริการที่ “เหนือกว่า” ทั้งในด้านการใช้งานที่ครอบคลุม ความไว้วางใจในการใช้บริการ และคุณสมบัติที่ครบครัน ซึ่งในปัจจุบันนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อใช้บริการหลายรูปแบบควบคู่กัน ดังที่เรียกกันว่าการรับ-ส่งข้อความแบบ “แยกประเภท” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคจะสับเปลี่ยนการใช้งานจากบริการเดียวไปสู่บริการอื่นๆ ขึ้นอยู่กับแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไป และการใช้งานระบบติดต่อสื่อสารในตลาดแต่ละประเภท ขณะที่บริการรับส่งข้อความอักษรครองใจผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมากว่า 20 ปี ความแตกต่างระหว่างการใช้บริการก็ลดลง อย่างไรก็ตามขณะที่ตลาดกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ยังมีโอกาสอีกมากที่ผู้ให้บริการจะได้พัฒนาแพลตฟอร์มการรับ-ส่งข้อความที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งผสมผสานความต้องการทั้งหมดของผู้บริโภค และสามารถครองส่วนแบ่งตลาดบริการรับส่งข้อความได้”
นับตั้งแต่ที่ได้มีการเปิดตัวแบรนด์ 'joyn(TM)' ซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าของ GSMA ตามมาตรฐาน Rich Communications Suite (RCS-e, RCS5) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างก็มีการพัฒนาครั้งใหญ่เพื่อให้บริการรับ-ส่งข้อความที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแก่ตลาดต่างๆ ขณะที่ความสนใจ และการลงทุนจากผู้ประกอบการทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจากการสำรวจในอังกฤษที่เคยได้ยินชื่อโปรแกรม 'joyn(TM)' มีเพียง 6% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ตอบรับการสำรวจได้รับทราบเกี่ยวกับ 'joyn(TM)' 78% บอกว่า จะลองใช้ 'joyn(TM)' ในราคาที่เหมาะสม และมีเพียง 5% ที่บอกว่า จะไม่ใช้ 'joyn(TM)'