Engine
สำหรับเครื่องยนต์ เทคโนโลยี Atkinson Cycle และระบบควบคุมการหมุนเวียนไอเสีย EGR(Exhaust Gas Recirculation) ที่มีการติดตั้งระบบระบายความร้อน ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมมลภาวะจากไอเสีย พร้อมระบบวาล์วอัจฉริยะ VVT-i เพื่อสมรรถนะการขับขี่ที่ประหยัดคุ้มค่า รหัส 2ZR – FXE / 4 สูบแถวเรียง DOHC 16 วาล์ว VVT-i 1,797 ซีซี แรงม้าสูงสุด 73 กิโลวัตต์ (99 แรงม้า) ที่ 5,200 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 142 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที
เครื่องยนต์ทำงานร่วมกับ มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) ที่พัฒนาระบบเกียร์ทดกำลังให้มีขนาดเล็กลงและน้ำหนักเบายิ่งขึ้น แต่สามารถรองรับการทำงานของเครื่องยนต์ที่มีกำลังสูงขึ้นกำลังสูงสุด 60 กิโลวัตต์ (82 แรงม้า) พร้อมแรงบิดสูงสุด 207 นิวตัน-เมตร โดยมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ตอบสนองการเร่ง ด้วยการเสริมพลังไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ขับเคลื่อน นอกจากนี้ก็จะมี Power Control Unit ทำหน้าที่ควบคุมไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่ และไฟฟ้ากระแสสลับจากมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม พร้อมช่วยขยายกำลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ได้สูงถึง 650 โวลต์ และ แบตเตอรี่ไฮบริด Ni-MH (Nickel–Metal Hydride) ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าทำให้แบตเตอรี่ไฮบริดมีน้ำหนักเบาขึ้น ทนทานยิ่งขึ้น


การเรียกพลังออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ตามที่เราบอกกันไปในช่วงต้น นั่นก็คือการขับโหมด POWER ซึ่งสามารถเรียกม้าออกมาควบได้ครบและต่อเนื่องกว่า แต่ถ้าเมื่อใดที่หันมาเล่นกับโหมด ECO หรือว่า โหมด ประหยัดเพียงอย่างเดียว คนที่ชอบความแรงก็อาจจะเสียอารมณ์ได้ เนื่องจากโหมดนี้ เน้นเรื่องของความประหยัดเป็นหลัก จะกดคันเร่งเพื่อให้รถคลิกดาวน์ นั้นไม่สามารถทำได้อย่างที่ต้องการ เพราะฉะนั้นถ้าอยากเร่งแซงหรือไต่ช่วงที่มีความชันสูงๆ ก็ควรต้องปรับมาที่โหมด POWER ซะก่อน แต่การใช้งานก็ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสเท่านั้น เราสามารถเปลี่ยนไป-มาได้ตลอดเวลา เท่าที่ต้องการ ซึ่งใช้นานๆ ก็จะเป็นการสร้างความเคยชิน และคล่องมือขึ้นเอง
ส่วนโหมดการขับขี่เงียบสนิท (EV Mode) แน่นอนครับว่าส่วนใหญ่จะต้องใช้งานในเมืองความเร็วต่ำ ซึ่งจะใช้ได้นานขนาดไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่ของระบบไฮบริดว่ามีมากมีน้อย เพราะเมื่อใดที่ไฟอ่อนแม้ว่าเราจะปรับมาใช้โหมด EV แต่มันก็จะปรับจากไฟฟ้ามาเป็นการใช้น้ำมันดังเดิมเพื่อเริ่มต้นชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ใหม่
อีกสิ่งหนึ่งที่เราถือว่า โตโยต้า พริอุส รุ่นใหม่นี้ สร้างความประทับใจให้ไม่น้อยเลย ก็คือเรื่องของการทรงตัว และการยึดเกาะถนน ไม่ว่าจะเป็นการขับช่วงเข้าโค้ง หรือว่าใช้ความเร็วสูงในทางตรง เสียงลมปะทะมีน้อย แม้ว่าค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานจะยังคงเท่าเดิมคือเพียงแค่ 0.25 เท่านั้น
Safety
ครบเครื่องด้วยเรื่องความปลอดภัย ระบบควบคุมการทรงตัว (VSC – Vehicle Stability Control) ที่ทำงานร่วมกับ EPS (Electronic Power Steering) รักษาการทรงตัวของรถในทุกสภาพการขับขี่, ระบบกระจายแรงเบรก EBD (Electronic Brake-force Distribution, ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (TRC – Traction Control System), ระบบป้องกันล้อล็อก (ABS – Anti-lock Braking System), ถุงลมเสริมความปลอดภัย 7 จุดรอบคัน ซึ่งการทดสอบครั้งนี้เป็นที่น่ายินดีครับว่าไม่ค่อยได้ใช้ในเรื่องของระบบความปลอดภัยที่มีให้กันเลย
+++ ขอบคุณข้อมูล : นิตยสาร DRIVEN Testdrive Magazine +++