หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง ปัญหากวนใจจากการเล่นกีฬา - Frozen Shoulder  (อ่าน 413 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 10 ก.พ. 11, 10:47 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 


“ปัญหาโรคข้อไหล่” สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเกิดจากอุบัติเหตุ และไม่สัมพันธ์กับอุบัติเหตุ หนึ่งในนั้นคือ ภาวะการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลำบาก หรือข้อไหล่ติด ซึ่งทำให้ ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ข้อไหล่ได้เต็มความสามารถและมีการใช้ งานข้อไหล่ลดลง โดยอาจไม่สามารถยกไหล่หรือกางแขน ออกได้สุด ทำให้นักกีฬาแสดงความสามารถทางกีฬา (Sports – Performance) ได้ไม่เต็มที่

โรคดังกล่าวสามารถเกิดได้จากการบาดเจ็บอักเสบทั่วๆไป อาจเกี่ยวพันกับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคภูมิคุ้มกันบางอย่าง เช่น โรคข้อรูห์มาตอย (Rheumatoid arthritis) โรคข้อเอสแอลอี หรือโรคข้อพุ่มพวง (SLE arthritis) เป็นต้น หรือการบาดเจ็บต่างๆโดยเฉพาะจากการเล่นกีฬา มักพบบ่อยในการใช้กล้ามเนื้อช่วงไหล่ และแขน เช่น เทนนิส กอล์ฟ ฯลฯ

อาการแสดง
ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยการยกไหล่ไม่ขึ้น เคลื่อนไหวข้อลำบาก เช่น มีปัญหาในการใส่เสื้อ, เอื้อมหยิบของในที่สูงหรือด้านข้าง ด้านหลังไม่ได้ เล่นกีฬาลำบาก เช่น วอล์เลย์บอล, บาสเกตบอล, ว่ายน้ำ, ยิมนาสติก และโยคะ ฯลฯ อาจร่วมกับการมีอาการปวดขณะทำกิจกรรมดังกล่าวร่วมด้วย หรือปวดตอนกลางคืนขณะพลิกตัว เป็นต้น

ระยะของโรค แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1. ระยะปวด ปวดไหล่ทั้งกลางวัน กลางคืน เกิดได้เองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น หรือแม้ไม่ได้ขยับข้อไหล่ ไม่สามารถนอนทับไหล่ข้างดังกล่าวได้ ทำให้การนอนหลับไม่สมบูรณ์ต้องตื่นกลางดึก ในระยะนี้ผู้ป่วยมักจะหนีบแขนและใช้ไหล่ข้างดังกล่าวน้อยที่สุด เพื่อลดอาการปวดตึงในเยื่อหุ้มข้อไหล่ ระยะนี้จะใช้เวลา 2 – 9 เดือน

2. ระยะติดแข็ง (ภาวะยกไหล่ไม่ขึ้น) อาการปวดเริ่มลดลง มักปวดเฉพาะเวลากลางคืน แต่ไหล่จะติดและเคลื่อนไหวลำบาก องศาในการเคลื่อนไหวไหล่ลดลงมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนติดแข็งในทุกท่า การทำกิจกรรมข้อไหล่ เช่นการเกาศรีษะ สระผม เกาหลัง ใส่เสื้อ จะทำไม่ได้ ระยะนี้จะใช้เวลา 3-12 เดือน การทำกิจกรรมข้อไหล่ เช่น การเกาศีรษะ สระผม เกาหลัง ใส่เสื้อ จะทำไม่ได้ ระยะนี้จะใช้เวลา 3 - 12 เดือน

3. ระยะบรรเทา ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีอาการ แต่ภาวะไหล่ติดแข็งจะทรงตัว โดยถ้าติดมากเท่าไรในระยะที่ 2 ระยะที่ 3 จะเท่าเดิม กับระยะเวลาประมาณ 12-24 เดือน

การรักษา
ขึ้นกับชนิดของข้อไหล่ติด เช่นผู้ป่วยเบาหวาน หรือไทรอยด์ ก็ต้องคุมอาหารในโรคนั้นๆด้วยยาให้ดีจนปกติ หรือถ้ากระดูกหัก ก็ต้องผ่าตัด ดามกระดูกในเข้าที่เสียก่อนเป็นต้น, การให้ยาต้านการอักเสบ, การบริหารหรือกายภาพบำบัดหัวไหล่ หากการรักษาดังกล่าวไม่ดีขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (Arthoscopic Shoulder Surgery) มีบทบาทอย่างมาก และแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ โดยมีข้อดี ช่วยให้แผลเล็กเจ็บน้อย เสียเลือดน้อย เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยหลังการผ่าตัด ฟื้นตัวเร็วขึ้นโดยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติดังเดิม โดยวิธีดังกล่าวสามารถรักษาได้ทุกสาเหตุแห่งภาวะข้อไหล่ติด สามารถที่จะช่วยเหลือให้ผู้ป่วยลดความทุกข์ทรมานจากอาการข้อไหล่ติด และกลับมาใช้งานข้อไหล่ได้ดี ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติ และดีขึ้น

ท้ายนี้เมื่อทราบดังนี้แล้ว อย่ารีรอถ้าเริ่มมีอาการปวดไหล่ ถึงแม้จะเล็กน้อย เพราะอาจเป็นจุดเริ่มต้นแห่งปัญหา (Begining of The End) ที่คุณก็คาดไม่ถึง


ด้วยความปราถนาดีจากโรงพยาบาลสมิติเวช : http://www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง_ปัญหากวนใจจากการเล่นกีฬา_-_fro_601/th
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 ก.พ. 11, 12:46 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เราเคยปวดเกร็งบริเวณข้อไหล่ แต่ไม่หนักหนา ไม่ถึงกับข้อไหล่ติด ปล่อยไว้สักพักก็หายเอง

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม