หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: 'สมประสงค์ บุญยะชัย'ย้ำชินคอร์ป'NO Color'  (อ่าน 97 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 21 ก.ค. 10, 01:55 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

คอลัมน์: EXCLUSIVE: 'สมประสงค์ บุญยะชัย'ย้ำชินคอร์ป'NO Color'ฝันอีก 5 ปีปลอดการเมือง!
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th)
Monday, July 12, 2010 10:03
1403 XTHAI XCOMMENT XECON DAS V%PAPERL P%TSK

ถ้าเอาวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 เป็นตัวตั้ง ลบด้วยวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 เป็นเวลา 3 ปีที่"สมประสงค์ บุญยะ-ชัย" รับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)(บมจ.) มีบทบาทดูแลสินทรัพย์นับแสนล้านบาทของธุรกิจกลุ่มชินคอร์ป
หากแต่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา แม้"สมประสงค์"ได้ประกาศนโยบายหลังรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในครั้งนั้นว่า"จุดยืนของกลุ่มชิน จะเป็นแบบ Single Objective คือมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่มีความเกี่ยวข้องทางการเมืองใดๆทั้งสิ้นเน้นการบริหารงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้"แต่สุดท้ายบมจ.ชินคอร์ป ก็ไม่พ้นบ่วงการเมืองทั้งๆ ที่ผู้ถือหุ้นเดิมคือครอบครัวชินวัตร และ ดามาพงศ์ ตัดขายทิ้งธุรกิจให้กับกองทุนเทมาเสกโฮลดิ้งไปแล้วตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2549 เป็นวงเงิน 7.6 หมื่นล้านบาท
"สมประสงค์" ให้ "ฐานเศรษฐกิจ"สัมภาษณ์พิเศษ ตอบทุกคำถามแบบตรงไปตรงมา อ่านรายละเอียดได้จากบรรทัดถัดจากนี้!!
วันนี้ ชินคอร์ปปลอดการเมืองหรือยัง เจตนารมณ์ของบริษัทไม่เปลี่ยนเพราะเราทำงานเพื่อคน 4 กลุ่ม คือ 1.ลูกค้า 2. ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ 3. พนักงาน และ 4. ประเทศชาติและสังคม เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้แล้วในหน้าที่ของเราที่จะปฏิบัติได้ เราต้องเป็น pure professional (การบริหารแบบมืออาชีพ) วันที่รับตำแหน่ง คือ วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 2550 และวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2550 ได้แถลงข่าววันแรก และย้ำว่าเราเป็นบริษัทที่ดำเนินการธุรกิจและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง มาเวลานี้ยังยืนยันในสิ่งนี้อยู่ในการยืนยันอันนี้ก็ใช้คำพูดที่แตกต่างไปจากเดิม คือใช้คำว่าNO Color การที่เป็น NO Color หรือneutral คือ ความเป็นกลาง ที่ต้องเป็นNo Color เพราะว่าตอนนี้มีสัญลักษณ์สีเกิดขึ้น เราใช้คำว่า No Color แปลว่าเข้าได้ทุกสี
"เราเหมือนน้ำเปล่า เราไปที่ไหนก็ได้เราเข้าได้ทุกสี ส่วน neutral คำอธิบายของผมคือว่าเราจะไม่มีความยินดีไปกับชัยชนะของใคร ไม่มีความเสียใจความเศร้าโศกกับการพ่ายแพ้ของใคร"
No Color จะทำได้ไหมผมคิดว่าไม่พ้นวิสัยเพราะว่าบริษัทย่อมต้องเป็น No Color คือ ผมไม่ก้าวล่วงไปในสิทธิส่วนบุคคลของใคร แต่ว่าด้วยหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนี้เป็นเพียงคำพูดสะท้อนต่อความเป็น Business P rofessional (บริหารแบบมืออาชีพ) อีกไม่นานถ้าเรื่องหายไป เรื่อง No Color หรือเป็นกลางไม่เป็นประเด็นอีกแล้วเราอาจกลับสู่คำหลักของเรา คือเป็น Business Professional เพราะเราตั้งเป้าหมายเป็นสถาบันทางธุรกิจ ไม่ใช่เป็น Political Professional (มืออาชีพทางการเมือง)
ตอกย้ำอีกครั้งแสดงว่าไม่สำเร็จแต่จากการประเมินผลที่มีด้วยกัน2 ส่วน 1. จากการสำรวจ ผลสำรวจปรากฏว่า Improve (ดีขึ้น) คนพิจารณาเราเห็นว่าแยกออกมา อีกส่วนหนึ่งคือเราอยู่ในงานสังคมเราได้พบปะผู้คน ผมมั่นใจว่ามี Improvement ที่ดี และวัดได้จากความรู้สึก แต่ในระยะแรกช่วงปลายปี 2549 คาบเกี่ยวต้นปี 2550 เราเหมือนบุคคลต้องห้าม โดยเฉพาะหน่วยงานราชการระมัดระวังตัวมาก แต่เวลาผ่านไปสิ่งต่างๆ จางหายไปบ้าง มีคนอีกฟากหนึ่งมาถามว่าจะจ่ายปันผลหรือไม่แต่ความเชื่อทางการเมืองของเขาไปอีกด้านหนึ่ง สะท้อนว่าเริ่มพิจารณาแยกเรื่องได้บ้างแล้ว ระหว่างสถาบันทางธุรกิจกับเรื่องของตัวบุคคล

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 21 ก.ค. 10, 11:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เชื่อมั่นว่าคลี่คลายอะไรจะเป็นตัวชี้วัดตัวชี้วัดสำคัญที่สังคมจะมองว่าเราไม่เกี่ยวข้องการเมืองแล้วนั้น ผมคิดว่าคือการที่เราได้ license (การออกใบอนุญาต 3 G ของ กทช.) จะเป็นmilestone (หลักหมายสำคัญ) ที่สำคัญอันหนึ่งเพราะไลเซนส์จะเกิดขึ้นมาในระยะเวลานี้แล้ว อีกอันหนึ่งที่ชัดเจน คือการสิ้นสุดสัญญาเก่า(สัญญาสัมปทานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสจำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส สิ้นสุดในปี 2558) เท่ากับว่าเป็นการปิดฉาก เป็นการ Close the Book ไม่ต้องพูดอีกต่อไปแล้ว...เชื่อว่าอีกประมาณ 5 ปีหลังจากนี้ ทุกอย่างน่าจะจบ
คดีความอดีตนายกฯกระทบแผนธุรกิจหรือไม่คำพิพากษาอ่านเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ตรงกับวันศุกร์ พอศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ มีคำสั่งออกจากกระทรวงไอซีทีให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อไป แล้วก็มีข่าวติดตามมาโดยคำสัมภาษณ์ของคนอีกหลายคน ผมรอเวลาอยู่ประมาณหนึ่งอาทิตย์และเห็นว่ากระแสไม่ได้ตกลงเลย จึงได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2553 เพื่อชี้แจงโดยก่อนถึงวันนั้นผมได้เชิญนักกฎหมายทั้งภายในบริษัท และสำนักกฎหมายภายนอกอีก 2 สำนัก เพื่อนำคำพิพากษามาอธิบายให้ฟังถึงลักษณะกฎหมายและขั้นตอนต่างๆแต่ผมไม่วิจารณ์คำพิพากษา
โดยสิ่งที่ชี้แจงแบ่งเป็น 3 ส่วน คำพิพากษาเฉพาะตัวผู้ต้องหา(หมายถึงอดีตนายกฯทักษิณ) ไม่มีผลต่อคนอื่นและนักกฎหมายทั้งในและนอกสำนักได้วิเคราะห์ว่าเขาไม่ได้ฟ้องบริษัท แต่ฟ้องเจ้าตัว (อดีตนายกฯทักษิณ) ปรากฏให้เกิดความเสียหาย ดังนั้นจึงริบทรัพย์ (ยึดทรัพย์อดีตนายกฯทักษิณ 4.9 หมื่นล้านบาทรวมดอกผล) ให้ตกเป็นของประเทศไปแล้วเพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จบแล้ว ดังนั้นบริษัทไม่เกี่ยว
ส่วนที่ 2 กรณีของเอไอเอส มีด้วยกัน 3 ส่วน สัญญาพรีเพด(ระบบเติมเงิน),ภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม และโรมมิ่ง(เชื่อมต่อโครงข่าย) กรณีภาษีสรรพสามิตอธิบายชัดเจน บริษัทไม่ได้ลดเงินออกจากกระเป๋าของบริษัทและจ่ายเท่าเดิม เพียงแต่รับโดยใครเท่านั้นเอง ในส่วนของพรีเพดเราลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ลงตามที่กำหนดให้ โดยมีคำสั่งให้ไปลดให้ประชาชนเพื่อที่จะให้เกิดการแข่งขันและเพื่อใช้มากขึ้น ผลก็คือคนใช้มากขึ้นราคาถูกลง ปริมาณการใช้มากขึ้น และบมจ.ทีโอที ก็ได้รับส่วนแบ่งรายได้เพิ่มมากขึ้น และเครือข่ายที่สร้างก็ใหญ่มากขึ้นและรัฐก็ไม่ควรไปเอาผิดกับบอร์ด
กรณีเรื่องไทยคม ก็ยืนยันทุกอย่างทำไปหลังจากได้อนุมัติทั้งสิ้นไม่ได้มีการทำอะไรล่วงหน้าเลยผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีในที่สุดเมื่อ 2-3 วันก่อนทางคณะกรรมการบอกว่า ไทยคม ไม่ผิดทำตามที่อนุมัติ ถามว่าคำพิพากษามีผลกระทบไหมต้องตอบว่ามี ดังนั้นบริษัทต้องสื่อสารออกไปให้สาธารณชนและชี้แจงต่อผู้ถือหุ้นให้เข้าใจและมีอีกส่วนหนึ่ง คือ กฎหมายบริษัทมหาชน ถ้าทำผิดกฎหมาย บอร์ด และคณะกรรมการจะต้องรับผิดชอบเพราะกฎหมายแก้ใหม่แล้วกำหนดไว้ไม่ใช่เพียงแค่โทษปรับ แต่เป็นโทษจำคุก
กรณีไทยคมกรณีซื้อคืนไทยคม ถ้าซื้อไทยคมจะซื้อกับใคร ถ้าซื้อจากคนในตลาดหลักทรัพย์ฯก็ซื้อในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ถ้าซื้อจากชินก็บอกมา ผมจะดำเนินการให้ เรื่องของดาวเทียมมีความเข้าใจผิด ได้ชี้แจงไปแล้ว พอบริษัทส่งดาวเทียมไปแล้วต้องโอนให้กระทรวงไอซีที และตำแหน่งวงโคจรก็เป็นของประเทศไทยมาโดยตลอด การดำเนินการต่างๆ ของไทยคม ดำเนินภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงไอซีที ไม่ได้ดำเนินการแบบเอกเทศ อีกประการไทยคมเป็นดาวเทียมเชิงพาณิชย์ ไม่ใช่ดาวเทียมเฉพาะกิจที่จะใช้ถ่ายรูปอะไรได้
ฟื้นแปรสัญญาเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตทุกคนมีความตั้งใจอันดีหาไอเดียใหม่ๆ แต่ความคิดเห็นส่วนตัวของผมสัญญาเก่าที่มีอยู่อีกไม่กี่ปีก็หมดอายุ ก็ไม่ควรต่อสัญญาอีกต่อไป และเวลานี้ทุกอย่างเคลื่อนที่ไปสู่ 3G ถ้าไปขืนไว้ประเทศเสียโอกาสขาด advantage อีกอันหนึ่งlandscape ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยตั้งแต่ปี 2540 ได้มีการริเริ่มจัดตั้งจัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมโทรคมนาคมขึ้นมา โดยมีความมุ่งหมายให้ประเทศมีregulator (ผู้กำกับดูแล) หนึ่งคน กำกับดูแลเพียงหน่วยงานเดียว และมีโอเปอเรเตอร์หลายคน อยู่ภายใต้ regulator เพียงคนเดียวเพื่อให้เกิดความเสมอภาค แต่ผู้ให้บริการควรมีหลายรายเพื่อเกิดการแข่งขันและเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคซึ่งก็เดินมาตามแผนแม่บทที่วางไว้มาเป็นลำดับ และเหมือนกับพัฒนาการของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศอื่นทั่วโลก

บรรยายใต้ภาพ
สมประสงค์ บุญยะชัย--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 11 - 14 ก.ค. 2553--

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 21 ก.ค. 10, 11:30 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เชื่อมั่นว่าคลี่คลายอะไรจะเป็นตัวชี้วัดตัวชี้วัดสำคัญที่สังคมจะมองว่าเราไม่เกี่ยวข้องการเมืองแล้วนั้น ผมคิดว่าคือการที่เราได้ license (การออกใบอนุญาต 3 G ของ กทช.) จะเป็นmilestone (หลักหมายสำคัญ) ที่สำคัญอันหนึ่งเพราะไลเซนส์จะเกิดขึ้นมาในระยะเวลานี้แล้ว อีกอันหนึ่งที่ชัดเจน คือการสิ้นสุดสัญญาเก่า(สัญญาสัมปทานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสจำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส สิ้นสุดในปี 2558) เท่ากับว่าเป็นการปิดฉาก เป็นการ Close the Book ไม่ต้องพูดอีกต่อไปแล้ว...เชื่อว่าอีกประมาณ 5 ปีหลังจากนี้ ทุกอย่างน่าจะจบ
คดีความอดีตนายกฯกระทบแผนธุรกิจหรือไม่คำพิพากษาอ่านเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ตรงกับวันศุกร์ พอศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ มีคำสั่งออกจากกระทรวงไอซีทีให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อไป แล้วก็มีข่าวติดตามมาโดยคำสัมภาษณ์ของคนอีกหลายคน ผมรอเวลาอยู่ประมาณหนึ่งอาทิตย์และเห็นว่ากระแสไม่ได้ตกลงเลย จึงได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2553 เพื่อชี้แจงโดยก่อนถึงวันนั้นผมได้เชิญนักกฎหมายทั้งภายในบริษัท และสำนักกฎหมายภายนอกอีก 2 สำนัก เพื่อนำคำพิพากษามาอธิบายให้ฟังถึงลักษณะกฎหมายและขั้นตอนต่างๆแต่ผมไม่วิจารณ์คำพิพากษา
โดยสิ่งที่ชี้แจงแบ่งเป็น 3 ส่วน คำพิพากษาเฉพาะตัวผู้ต้องหา(หมายถึงอดีตนายกฯทักษิณ) ไม่มีผลต่อคนอื่นและนักกฎหมายทั้งในและนอกสำนักได้วิเคราะห์ว่าเขาไม่ได้ฟ้องบริษัท แต่ฟ้องเจ้าตัว (อดีตนายกฯทักษิณ) ปรากฏให้เกิดความเสียหาย ดังนั้นจึงริบทรัพย์ (ยึดทรัพย์อดีตนายกฯทักษิณ 4.9 หมื่นล้านบาทรวมดอกผล) ให้ตกเป็นของประเทศไปแล้วเพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จบแล้ว ดังนั้นบริษัทไม่เกี่ยว
ส่วนที่ 2 กรณีของเอไอเอส มีด้วยกัน 3 ส่วน สัญญาพรีเพด(ระบบเติมเงิน),ภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม และโรมมิ่ง(เชื่อมต่อโครงข่าย) กรณีภาษีสรรพสามิตอธิบายชัดเจน บริษัทไม่ได้ลดเงินออกจากกระเป๋าของบริษัทและจ่ายเท่าเดิม เพียงแต่รับโดยใครเท่านั้นเอง ในส่วนของพรีเพดเราลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ลงตามที่กำหนดให้ โดยมีคำสั่งให้ไปลดให้ประชาชนเพื่อที่จะให้เกิดการแข่งขันและเพื่อใช้มากขึ้น ผลก็คือคนใช้มากขึ้นราคาถูกลง ปริมาณการใช้มากขึ้น และบมจ.ทีโอที ก็ได้รับส่วนแบ่งรายได้เพิ่มมากขึ้น และเครือข่ายที่สร้างก็ใหญ่มากขึ้นและรัฐก็ไม่ควรไปเอาผิดกับบอร์ด
กรณีเรื่องไทยคม ก็ยืนยันทุกอย่างทำไปหลังจากได้อนุมัติทั้งสิ้นไม่ได้มีการทำอะไรล่วงหน้าเลยผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีในที่สุดเมื่อ 2-3 วันก่อนทางคณะกรรมการบอกว่า ไทยคม ไม่ผิดทำตามที่อนุมัติ ถามว่าคำพิพากษามีผลกระทบไหมต้องตอบว่ามี ดังนั้นบริษัทต้องสื่อสารออกไปให้สาธารณชนและชี้แจงต่อผู้ถือหุ้นให้เข้าใจและมีอีกส่วนหนึ่ง คือ กฎหมายบริษัทมหาชน ถ้าทำผิดกฎหมาย บอร์ด และคณะกรรมการจะต้องรับผิดชอบเพราะกฎหมายแก้ใหม่แล้วกำหนดไว้ไม่ใช่เพียงแค่โทษปรับ แต่เป็นโทษจำคุก
กรณีไทยคมกรณีซื้อคืนไทยคม ถ้าซื้อไทยคมจะซื้อกับใคร ถ้าซื้อจากคนในตลาดหลักทรัพย์ฯก็ซื้อในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ถ้าซื้อจากชินก็บอกมา ผมจะดำเนินการให้ เรื่องของดาวเทียมมีความเข้าใจผิด ได้ชี้แจงไปแล้ว พอบริษัทส่งดาวเทียมไปแล้วต้องโอนให้กระทรวงไอซีที และตำแหน่งวงโคจรก็เป็นของประเทศไทยมาโดยตลอด การดำเนินการต่างๆ ของไทยคม ดำเนินภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงไอซีที ไม่ได้ดำเนินการแบบเอกเทศ อีกประการไทยคมเป็นดาวเทียมเชิงพาณิชย์ ไม่ใช่ดาวเทียมเฉพาะกิจที่จะใช้ถ่ายรูปอะไรได้
ฟื้นแปรสัญญาเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตทุกคนมีความตั้งใจอันดีหาไอเดียใหม่ๆ แต่ความคิดเห็นส่วนตัวของผมสัญญาเก่าที่มีอยู่อีกไม่กี่ปีก็หมดอายุ ก็ไม่ควรต่อสัญญาอีกต่อไป และเวลานี้ทุกอย่างเคลื่อนที่ไปสู่ 3G ถ้าไปขืนไว้ประเทศเสียโอกาสขาด advantage อีกอันหนึ่งlandscape ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยตั้งแต่ปี 2540 ได้มีการริเริ่มจัดตั้งจัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมโทรคมนาคมขึ้นมา โดยมีความมุ่งหมายให้ประเทศมีregulator (ผู้กำกับดูแล) หนึ่งคน กำกับดูแลเพียงหน่วยงานเดียว และมีโอเปอเรเตอร์หลายคน อยู่ภายใต้ regulator เพียงคนเดียวเพื่อให้เกิดความเสมอภาค แต่ผู้ให้บริการควรมีหลายรายเพื่อเกิดการแข่งขันและเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคซึ่งก็เดินมาตามแผนแม่บทที่วางไว้มาเป็นลำดับ และเหมือนกับพัฒนาการของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศอื่นทั่วโลก

บรรยายใต้ภาพ
สมประสงค์ บุญยะชัย--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 11 - 14 ก.ค. 2553--

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม