ก่อนหน้านี้เชื่อว่าการโอนเงินไปต่างประเทศ นับเป็นปัญหาหนึ่งของคนทำงานในต่างประเทศ เพราะมีขั้นตอนเกี่ยวกับธุรกรรมซับซ้อนกว่าการโอนเงินในประเทศ เนื่องจากต้องผ่านระบบ Swift และ Time Zone ของประเทศที่ทำการโอนนั้น ๆ และยังใช้เวลานานอีกด้วย วันนี้เรามาดูกันว่าการ โอนเงินก้อนไปต่างประเทศ สะดวกสบายขึ้นแค่ไหน และมีระบบใดบ้าง
Swift Code คืออะไร
Swift Code หากให้อธิบายสั้น ๆ คือ รหัสของธนาคารเพื่อการโอนเงินต่างประเทศ สาเหตุของ
การเกิดขึ้นมาเนื่องจากสถาบันการเงินและธนาคารมีมากกว่า 11,000 แห่ง จาก 200 ประเทศทั่วโลก
จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดรหัสกลางเพื่อบ่งบอกว่าธนาคารนี้มีชื่อว่าอะไร ซึ่งการ โอนเงินแบบ swift code จะมีตัวอักษรทั้งหมด 8 – 11 ตัว เพื่อบ่งชี้ถึงพิกัดของธนาคารที่ทำการโอน เช่น หากต้องการโอนเงินจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นค่าเล่าเรียนของลูกที่ธนาคาร Bank of America Corporation จะต้องใช้รหัส Swift Code คือ MLCOUS3GFDS โดยตัวอักษร4 ตัวแรก “MLCO” คือชื่อย่อของ Bank of America Corp. “US” คือรหัสประเทศสหรัฐอเมริกา และ “3GFDS” คือรหัสบ่งชี้พิกัดย่อยของสาขาในนิวยอร์ก เช่นเดียวกับการโอนเงินจากต่างประเทศกลับมาไทยก็ต้องระบุโค้ด เช่น ต้องการส่งเงินให้ผู้รับซึ่งเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย รหัส Swift Code ของธนาคารกรุงไทยคือ “KRTH” ส่วนรหัสของประเทศไทยคือ “TH” ทั้งนี้อย่าจำสับสนกับตัวย่อที่เห็นได้ในไทยอย่าง SCB KTB TTB KBANK เพราะเหล่านี้คือตัวย่อที่ใช้ในวงการตลาดหุ้นและตลาดการเงิน
ระยะเวลา ค่าธรรมเนียม และวงเงินในการโอน
ค่าธรรมเนียมโอนเงินต่างประเทศ ด้วยระบบ Swift Code ถือว่ามีค่าธรรมเนียมสูงกว่าการโอนเงินด้วยระบบอื่น เพราะต้องมีการตรวจสอบการฟอกเงินระหว่างประเทศว่าการโอนเงินเข้าข่ายการฟอกเงินหรือไม่ ถือว่าปลอดภัยมาก แต่ถ้าหากเคยทำธุรกรรมกับธนาคารต่างประเทศนั้น ๆ การโอนจะทำได้สะดวกรวดเร็ว เนื่องจากธนาคารมีข้อมูลอยู่แล้วด้วยเหตุนี้เองระยะเวลาในการโอนจะอยู่ที่เฉลี่ย 3 – 5 วัน ส่วนค่าธรรมเนียมธนาคารในไทยส่วนใหญ่จะเริ่มคิดขั้นต่ำ 400 บาท +XXX (ตามข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร บางธนาคารเก็บค่าธรรมเนียมส่วนต่างคงที่ 1,200 บาท สำหรับสกุลเงินโซนยุโรป หรือคิดเพิ่มเป็น % ของจำนวนเงินที่โอน) ดังนั้นการ ค่าธรรมเนียมโอนเงินต่างประเทศ swift code จะเสียค่าธรรมเนียมสูงกว่าการโอนแบบอื่น ๆ อย่าง PayPal ที่ไม่เสีย ค่าธรรมเนียมการโอนเงินต่างประเทศ แต่จะเก็บในรูปแบบของค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน ซึ่งถูกกว่าระบบ Swift ทั้งนี้การโอนด้วยระบบ Swift จะไม่มีการจำกัดวงเงินในการโอน ยกเว้นว่าจะโอนผ่านแอปมือถือธนาคาร หากวงเงินเกิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องยื่นแบบฟอร์มการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ
ขั้นตอนการโอนเงินผ่านแอป
การ โอนเงินต่างประเทศผ่านแอพ เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เเพราะปัจจุบันสามารถทำได้ง่าย ผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคาร เช่น ธนาคารกรุงไทยที่สามารถโอนเงินต่างประเทศ กรุงไทย ผ่านแอป KrungThai Next มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เริ่มจากเข้าเมนูโอนเงินต่างประเทศ
เลือกรายการ ได้แก่ บัญชีสำหรับตัดเงิน ประเทศปลายทาง จำนวนเงินและสกุลเงินที่ต้องการโอน กำหนดผู้จ่ายค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม ระบุข้อมูลของผู้รับเงินและวัตถุประสงค์ในการโอน สุดท้ายกดยืนยัน ก็สามารถโอนเงินได้แล้ว
สามารถดูข้อมูลขั้นตอนการ โอนเงินต่างประเทศ ที่ https://krungthai.com/th/content/personal/cash-management/payment-transfer/krungthai-warp