พ่อแม่สงสัยพฤติกรรมลูกติดเกม สังเกตสัญญาณเตือน อาการติดเกม จากการเล่นเกมติดต่อกันนานหลายชั่วโมง กินไม่ตรงเวลา อดหลับอดนอนหมกมุ่นกับการเล่นเกมจนไม่เป็นอันเรียน อารมณ์เสียควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ก้าวร้าวโมโหร้าย หรือทำร้ายคนอื่น หากพบความผิดปกติเหล่านี้พ่อแม่ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและรักษาก่อนสายเกินไป
สัญญาณเตือนที่บอกว่า ลูกติดเกม มีอะไรบ้าง
1.หมกมุ่นกับเกมตลอดเวลา
เด็กและวัยรุ่นใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเรียน เวลาว่างจะทำกิจกรรมที่ชอบ เล่นกีฬา ออกไปพบปะกับเพื่อน ถ้าเด็กใช้เวลาเล่นเกมนานหลายชั่วโมงจนไม่เป็นอันทำอะไร ไม่กิน ไม่นอน ขี้เกียจออกกำลังกาย ไปโรงเรียนสาย ง่วงหาวตอนกลางวัน เมื่อพบสัญญาณเตือนนี้พ่อแม่แก้ปัญหาได้ด้วยการชวนลูกทำกิจกรรมอื่น เช่น ออกกำลังกาย ชวนไปดูหนัง เพื่อไม่ให้หมกมุ่นกับเกมตลอดเวลา
2.อารมณ์ฉุนเฉียว โมโหร้าย
เด็กเล่นเกมเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน แต่เมื่อ เด็กติดเกม จะยิ่งเล่นยิ่งเครียด ไม่มีความสุข เล่นกันอย่างจริงจังเอาเป็นเอาตายเพราะอยากเอาชนะ มีอารมณ์หงุดหงิด ผู้ปกครองควรแก้ปัญหาด้วยการดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ใช้เวลาอยู่กับลูกมากขึ้น อีกทั้งรับฟังลูกอย่างใจเย็น พร้อมกันนี้จะต้องทำให้ลูกออกห่างจากเกมด้วยการ หากิจกรรมให้ลูกทำที่บ้าน ชวนลูกทำกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยให้ลูกมีส่วนร่วมในการคิดหากิจกรรมทำสนุก ๆ กันในครอบครัว
3.พฤติกรรมผิดปกติ
อาการติดเกม โหยหาตลอดเวลามีผลต่อพฤติกรรมโดยตรง เด็กเริ่มโกหก ดื้อ ต่อต้านไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ลักขโมยและหลอกเอาเงินพ่อแม่ไปเล่นเกม ชอบเอาชนะ ก่อให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว และห่างเหินกับพ่อแม่ ลูกติดเกมก้าวร้าว มักจะควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ หงุดหงิดโมโหร้าย จะเติบโตไปเป็นคนขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ในอนาคต หากพบสัญญาณนี้อย่าชะล่าใจปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในการดูแลลูก
ปัญหา เด็กติดเกม ส่งผลกระทบรุนแรงมากกว่าที่หลายคนคิด เมื่อ เด็กติดเกม บางคนจะกินไม่เป็นเวลา นอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายทรุดโทรมซูบผอม บางคนเล่นไปกินขนมไปเกิดโรคอ้วนและฟันผุ การเล่นเกมทั้งวันทำให้มีอาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดเมื่อยข้อมือ ตาแห้ง สายตาพร่ามัว สายตาสั้น แม้ว่าการป้องกันดีกว่าการแก้ไขในภายหลัง แต่ในเมื่อลูกหลงติดเกมไปแล้ว พ่อแม่สังเกตเห็นพฤติกรรม อาการติดเกม ควรรีบรักษาอย่างรวดเร็วก่อนเกิดปัญหา โดยศึกษาเกมประเภทต่าง ๆ ช่วยเลือกเนื้อหาของเกมที่เหมาะสมกับอายุ พร้อมทั้งกำหนดเวลาเล่นเกมของลูกให้ชัดเจน เล่นได้วันละกี่ชั่วโมง มีส่วนร่วมเล่นเกมกับลูกและให้คำแนะนำไปพร้อมกัน เพราะเกมไม่ได้มีแต่ข้อเสีย ถ้าเล่นรู้เวลาและเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมยังช่วยฝึกสมองและพัฒนาทักษะได้ นอกจากนี้พ่อแม่ควรชวนลูกไปออกกำลังกายบ้าง จะได้เคลื่อนไหวร่างกายแทนการให้ลูกนั่งเล่นเกมเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าลูก ขี้เกียจออกกำลังกาย ก็อาจ หากิจกรรมให้ลูกทำที่บ้าน ชวนลูกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการสร้างสัมพันธ์ในครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย
สามารถอ่านเรื่อง อาการติดเกม เพิ่มเติมได้ที่ https://www.milo.co.th/blog/ปัญหาเด็กติดเกม-วิธีรับมืออย่างสร้างสรรค์