"ยันฮี" โดดร่วมงาน "BANGKOK PRIDE 2022"
ตามกระแสหลากหลายทางเพศ
ให้ความรู้เส้นทางการแปลงเพศแบบหมดเปลือก กระแส LGBT ยังแรงไม่หยุด ยันฮีโดดร่วมงานกับเพจดัง SPECTRUM ตอบโจทย์ความหลากหลายทางเพศ ในงาน "BANGKOK PRIDE 2022" ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมส่งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมให้ความรู้เส้นทางการแปลงเพศแบบหมดเปลือก ตามสโลแกน "ครบ..จบที่ยันฮี กับชีวิตใหม่ที่ใครก็เลือกที่จะเป็นได้" เชื่อมั่นศักยภาพยันฮี ยังเป็นหนึ่งในใจคนที่ต้องการแปลงเพศของเมืองไทย นายแพทย์สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยันฮี เปิดเผยสถานการณ์ LGBT (กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ)ว่า "ปัจจุบันLGBT เป็นสังคมที่ได้รับการยอมรับการอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น สามารถแสดงออกกันได้อย่างเต็มที่บนพื้นฐานของความถูกต้องและไม่ขัดต่อสาธารณชน ซึ่งรพ.ยันฮีก็เป็นหนึ่งในสถานพยาบาลหลายๆ แห่งที่ร่วมให้การดูแลกลุ่มบุคลเหล่านี้ตามหลักการทางการแพทย์ เพื่อให้สอดรับสถานการณ์ปัจจุบันภายใต้ศูนย์การแปลงเพศครบวงจร รพ.ยันฮี
สำหรับศูนย์แปลงเพศครบวงจร โรงพยาบาลยันฮี เราให้บริการแบบสหสาขาวิชาชีพ ทั้งการแปลงเพศจากชายเป็นหญิงและจากหญิงเป็นชาย ตั้งแต่การเป็นที่ปรึกษาด้านจิตเวช การเทคฮอร์โมนเพื่อปรับสภาพร่างกายตั้งแต่แรกเริ่ม การวางแผนการผ่าตัดแปลงเพศอย่างถูกวิธีและปลอดภัย รวมทั้งการดูแลหลังการผ่าตัดด้วยทีมแพทย์สหสาขา ทีมพยาบาลที่มีประสบการณ์ด้านนี้โดยตรง จึงทำให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัย นับได้ว่า รพ.ยันฮีเป็นศูนย์กลางของการแปลงเพศที่สามารถผ่าตัดแปลงเพศได้ทั้งจากชายเป็นหญิงและหญิงเป็นชาย ตามสโลแกนที่ว่า
"ครบ จบ ที่ยันฮี""ปัจจุบัน การผ่าตัดแปลงเพศได้รับการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก มีการคิดค้นเทคนิคการผ่าตัดใหม่ๆ ที่ได้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ รูปลักษณ์ที่ได้จะมีความคล้ายคลึงเพศที่ต้องการมากที่สุด โดยโรงพยาบาลยันฮีจะผ่าตัดด้วยวิธีจุลยศัลยกรรม ซึ่งเป็นการการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง สามารถเห็นรายละเอียดโครงสร้างเส้นประสาทต่างๆ ได้ชัดเจนและละเอียดมาก แผลผ่าตัดเล็กลง เจ็บแผลน้อยลง คนไข้ฟื้นตัวเร็วขึ้น ที่สำคัญแพทย์มีประสบการณ์ในการผ่าตัด ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี เกิดผลข้างเคียงน้อยมาก"
นายแพทย์สุพจน์ กล่าว ก้าวแรกที่สำคัญของการแปลงเพศ นั่นคือ การประเมินสภาพจิตใจจากจิตแพทย์จำนวน1- 2 ท่านตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อประเมินตัวตนให้ชัด จิตแพทย์จะเป็นเพื่อนร่วมทางที่ดีที่สุด เปรียบเหมือนผู้ช่วยที่จะทำให้ผู้เข้ารับการแปลงเพศค้นหาตัวเองได้ และจะเป็นผู้ดูแลเพื่อให้ผู้เข้ารับการแปลงเพศสามารถยอมรับและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย รวมถึงปรับการใช้ชีวิตประจำวันกับเพศใหม่ได้อย่างเหมาะสม
อีกจุดหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือ
การเทคฮอร์โมนภายใต้การดูแลของแพทย์ เราพบว่า คนส่วนใหญ่จะซื้อฮอร์โมนกินเองตามโฆษณาชวนเชื่อ หรือการบอกต่อในสังคมโซเชียล โดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะไม่ตระหนักถึงอันตรายที่ตามมา เช่น การใช้ยาฮอร์โมนในปริมาณมากเพื่อเร่งผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว หรือใช้ผิดประเภท ผิดขนาด อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในกลุ่มคนข้ามเพศนั่นเอง ดังนั้น การใช้ฮอร์โมนตามคำแนะนำของแพทย์จึงจะปลอดภัยมากกว่า เพราะจะมีการตรวจติดตามสุขภาพ และสามารถตรวจพบความผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพได้ทันท่วงที ซึ่งแพทย์อาจมีการปรับยา และ/หรือ สั่งยาเพิ่ม ตามความเหมาะสมของแต่ละคน