หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: "ซิงค์" จัดการประชุมสุดยอดสุขภาวะดิจิทัลครั้งแรก  (อ่าน 24 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 29 มี.ค. 22, 10:06 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

"ซิงค์" จัดการประชุมสุดยอดสุขภาวะดิจิทัลครั้งแรก มุ่งยกระดับความเข้าใจในอันตรายของสื่อดิจิทัล

- การประชุมนี้เปรียบได้กับ "การประชุมดาวอสด้านสุขภาวะดิจิทัล" โดยจะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความจริงที่ซ่อนอยู่ของความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสื่อดิจิทัล

- การประชุมสุดยอดสองวัน (29-30 มีนาคม) จะนำนักวิชาการ ผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี บุคคลสำคัญด้านวัฒนธรรม และผู้กำหนดนโยบาย มารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและวิธีการแก้ปัญหา เพื่อปรัปปรุงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเทคโนโลยี

- คนดังอย่างไซมอน ซิเนค (Simon Sinek) รวมถึงผู้บริหารจากไอบีเอ็ม ยูเนสโก และไชลด์เน็ต จะมาเป็นวิทยากรในการประชุมย่อยหลายหัวข้อตลอดงาน

- ผลการวิจัยของซิงค์แสดงให้เห็นว่า คนเกือบครึ่งหนึ่ง (48%) ใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากเกินกว่าที่ตนเองต้องการทุกวัน

ด้วยความพยายามที่จะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาวะดิจิทัล ทางโครงการส่งเสริมสุขภาวะดิจิทัล "ซิงค์" (Sync) จึงเตรียมเปิดเวทีให้บรรดาผู้นำจากแวดวงเทคโนโลยี วิชาการ กีฬา วัฒนธรรม และนโยบาย มารวมตัวกันในช่วงสิ้นเดือนนี้ ในการประชุมสุดยอดสุขภาวะดิจิทัล "ซิงค์ ดิจิทัล เวลบีอิ้ง ซัมมิต" (Sync Digital Wellbeing Summit) ครั้งแรก

"การประชุมซิงค์ ดิจิทัล เวลบีอิ้ง ซัมมิต จะเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญแถวหน้าของวงการ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ บุคคลเด่นด้านวัฒนธรรม และอินฟลูเอนเซอร์ ได้พูดคุยกันในประเด็นสุขภาวะดิจิทัลในระดับที่ครอบคลุมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยในการประชุมย่อยในหัวข้อต่าง ๆ บรรดาผู้นำทางความคิดจะถามคำถามที่ท้าทายแต่มีความสำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนเรากับเทคโนโลยี รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบและนำเสนอทางออกของปัญหาที่เรากำลังเผชิญ เราต้องร่วมกันถามคำถามที่ตรงจุดจึงจะประสบผลสำเร็จในการกำหนดเส้นทางไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างคนเรากับเทคโนโลยี"

ผู้นำทางความคิด

บรรดาผู้นำทางความคิดที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดครั้งนี้ประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียงจากแวดวงเทคโนโลยี องค์กรเอ็นจีโอ มูลนิธิ ภาครัฐ และชุมชนอินฟลูเอนเซอร์ด้านวัฒนธรรม โดยวิทยากรหลักประกอบด้วย

วิลล์ การ์ดเนอร์ (Will Gardner) ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นโอบีอี และซีอีโอของไชลด์เน็ต (Childnet) สหราชาณาจักร
โม กาวดัต (Mo Gawdat) นักเขียน ผู้ประกอบการ และอดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจของกูเกิล [เอกซ์] (Google [X]) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
โจนาทาน การ์เนอร์ (Jonathan Garner) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของไมนด์ โอเวอร์ เทค (Mind Over Tech) สหราชาณาจักร
ดร. รอสส์ ฟาร์เรลลี (Ross Farrelly) ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ของไอบีเอ็ม (IBM) ออสเตรเลีย
เจ้าหญิงไฮฟา อัล โมกริน (H.H. Princess Haifa Al Mogrin) ผู้แทนถาวรราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียประจำยูเนสโก (UNESCO)
ดร. แองเจลา กันดรา ดา ซิลวา มาร์ตินส์ (Angela Gandra da Silva Martins) ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิทธิมนุษยชนครอบครัวของบราซิล
ดร. ลิซ สไวการ์ต (Liz Sweigart) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ของเซฟ คิดส์ เอไอ (Safe Kids AI)
ดร. จอห์น เอ. นาสลันด์ (John A. Naslund) อาจารย์ภาควิชาสุขภาพโลกและเวชศาสตร์สังคม โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
คีตาญชลี ราว (Gitanjali Rao) นักนวัตกรรม นักเขียน และ "เด็กแห่งปี" คนแรกของนิตยสารไทม์ในปี 2563
วิลล์ การ์ดเนอร์ ซีอีโอของไชลด์เน็ต องค์กรการกุศลจากสหราชอาณาจักรซึ่งส่งเสริมอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยมากขึ้นสำหรับเด็ก ๆ กล่าวว่า "โลกออนไลน์มอบโอกาสมากมายให้แก่เด็ก ๆ แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงที่เด็กทั่วโลกต้องเผชิญ จึงจำเป็นต้องมีนโยบาย การกำกับดูแล การปกป้อง และการให้ความรู้ เพื่อให้เท่าทันสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อรับประกันว่าเด็ก ๆ จะสามารถดูแลตัวเองและผู้อื่นได้บนโลกออนไลน์ รวมถึงเพื่อรับฟังเสียงของเด็ก ๆ และให้พวกเขาได้แบ่งปันประสบการณ์ ความกังวล และความคิดเห็น ผมตั้งตารอที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างความก้าวหน้าในภาคส่วนนี้ ในการประชุมซิงค์ ดิจิทัล เวลบีอิ้ง ซัมมิต"

ติดตามซิงค์ได้ทางทวิตเตอร์ https://twitter.com/SyncIthra หรือเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/SyncIthra

เกี่ยวกับอิทรา

ศูนย์วัฒนธรรมโลกคิงอับดุลอาซิซ หรือ อิทรา เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางด้านวัฒนธรรมที่ทรงอิทธิพลที่สุดของซาอุดีอาระเบีย โดยเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับผู้ที่มีความสนใจใคร่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และต้องการแสวงหาความรู้ อิทราสร้างประสบการณ์ระดับโลกในพื้นที่สาธารณะแบบอินเทอร์แอคทีฟ ผ่านทางโปรแกรม การแสดง นิทรรศการ กิจกรรม และโครงการที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งนำวัฒนธรรม นวัตกรรม และองค์ความรู้มาผสมผสานกันในรูปแบบที่ดึงดูดใจทุกคน อิทราเชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์ มุมมองที่ท้าทาย และแนวคิดที่แปลกใหม่เข้าด้วยกัน และภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำด้านวัฒนธรรมแห่งอนาคตที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ทั้งนี้ อิทราเป็นโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ระดับเรือธงของบริษัท ซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco) และเป็นศูนย์วัฒนธรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยประกอบด้วยโซนต่าง ๆ ได้แก่ ไอเดีย แล็บ (Idea Lab), ห้องสมุด, โรงภาพยนตร์, โรงละคร, พิพิธภัณฑ์, ส่วนจัดแสดงพลังงาน (Energy Exhibit), หอประชุมใหญ่, พิพิธภัณฑ์เด็ก และอิทรา ทาวเวอร์ (Ithra Tower)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ithra.com

ติดตามอิทราทางโซเชียลมีเดียได้ที่เฟซบุ๊ก (King Abdulaziz Center for World Culture), ทวิตเตอร์ (@Ithra) และอินสตาแกรม (@Ithra) #Ithra

[1] อ้างอิงมาจากการสำรวจประชากร 15,000 คน ใน 30 ประเทศ ซึ่งมอบหมายโดยซิงค์ และดำเนินการโดยพีเอสบี มิดเดิลอีสต์ (PSB Middle-East) ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2564

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม