บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) จำนวน 34 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่ม แบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน 2) แบบสัมภาษณ์เจาะลึกแบบไม่มีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MRADEA เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4) แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ-เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 6) แบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ("x" ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการทดสอบค่าที (t-test)