นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งการให้ทูตพาณิชย์ทั่วโลก ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้า, ค่าครองชีพ, การนำเข้า และการส่งออกสินค้า ซึ่งพบว่าในหลายประเทศเจอสภาวะราคาสินค้าและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ต่อเนื่องจากช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยรายงานของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า 5 ประการที่มีผลกระทบทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ประกอบด้วย
1.วิกฤตห่วงโซ่อุปทานโลก เกิดความล่าช้าและติดขัดตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งภาคการขนส่งและโลจิสติกส์
2.การขาดแคลนแรงงาน
3.การขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะ semiconductors (สานกึ่งตัวนำ)
4.การขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดค้าปลีก
5.สภาวะอากาศที่ผิดปกติในหลายพื้นที่
จากข้อมูลตลาดสำคัญที่ทูตพาณิชย์รายงาน ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาสินค้าในเดือน ธ.ค.64 เมื่อนำมาเทียบกับ ธ.ค.65 พบว่าพุ่งสูงขึ้นถึง 7% ซึ่งเพิ่มสูงที่สุดในรอบเกือบ 40 ปี โดยในรอบปีที่ผ่านมากลุ่มสินค้ากลุ่มพลังงานสูงขึ้น 29.3%, อาหารเพิ่มขึ้น 6.3% และสินค้าอื่นๆ 5.5% ทำให้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ร้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และเฟอร์นิเจอร์ อีกด้วย
- ประเทศแคนาดา ประสบปัญหาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพในแคนาดาสูงขึ้นตั้งแต่กลางปี 2564 ล่าสุดเมื่อเดือน พ.ย.64 อยู่ที่ระดับ 4.7 ทำให้ตั้งแต่ต้นปี 65 บรรดาห้างค้าปลีกต่างๆ ปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น เพื่อแสดงถึงต้นทุนที่แท้จริง
- ประเทศอิสราเอล ประสบปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลให้ราคาขนส่งเพิ่มขึ้น 3.4%, เครื่องตกแต่ง 7.8%อาหารไม่รวมผักและผลไม้ 2.8%, ด้านการศึกษา 3.2% และที่อยู่อาศัย 2.6%
- ประเทศชิลี ประสลปัญหาเงินเฟ้อ โดยในเดือน ธ.ค.64 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 7.2 % ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 13 ปี สินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคราคาสูงขึ้น ยกเว้นสินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
- ประเทศไต้หวัน ราคาสินค้าเมื่อปี 2564 ตลอดปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.96 ซึ่งสูงสุดในรอบ 13 ปี และเมื่อเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 2.62%, ประเภทค่าอาหารที่รับประทานนอกบ้าน เพิ่มขึ้น 2.39 % ซึ่งสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี ส่วนด้านอาหารประเภทหม้อไฟ และอาหารเช้าสไตล์จีนเพิ่มขึ้นมากกว่า 4% และหมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้น 2-3% โดยประมาณ