หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ไมโครซอฟท์ และ วิทยาลัยนโยบายสาธารณะลีกวนยู เปิดตัวเครือข่ายพันธมิตรทางดิจิทัลขอ  (อ่าน 36 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 8 ธ.ค. 21, 17:22 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

เครือข่ายที่นำผู้นำจากภาครัฐและภาคเอกชนใน 7 ประเทศมารวมตัวกัน เพื่อสำรวจแนวคิดเชิงนโยบายในยุคแห่งคลาวด์และนวัตกรรมดิจิทัล มุ่งสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
สิงคโปร์ - Media OutReach - 1 ธันวาคม 2564 - วิทยาลัยนโยบายสาธารณะลีกวนยูแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และ ไมโครซอฟท์ ได้เปิดตัวเครือข่ายพันธมิตรทางดิจิทัลของผู้นำแห่งเอเชียแปซิฟิก (APAC Leaders Digital Alliance) อย่างเป็นทางการในวันนี้




ในโอกาสนี้ สมาชิกของเครือข่ายได้จัดการประชุมครั้งแรกขึ้นภายใต้แนวคิด "Digital for Growth: Harnessing the Power of Data for National Recovery" หรือการนำข้อมูลดิจิทัลมาขับเคลื่อนการฟื้นฟูประเทศ โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐของอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม รวมถึงนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ธนาคารโลก ไอดีซี และไมโครซอฟท์เข้าร่วมการประชุม เพื่อหารือแนวคิดด้านการนำนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในองค์รวม และการวางกรอบนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการตัดสินใจที่มีข้อมูลเป็นรากฐานสำคัญ นอกจากนี้ ผู้นำจากหน่วยงานภาครัฐยังมีโอกาสได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับอนาคตของการทำงานและความสำคัญของทักษะดิจิทัลในภาคราชการอีกด้วย



"การจัดตั้งเครือข่ายนี้ขึ้น นับว่าเป็นก้าวสำคัญอย่างยิ่ง และยังเป็นความร่วมมือในรูปแบบนี้ครั้งแรกสำหรับไมโครซอฟท์อีกด้วย ประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกล้วนตระหนักดีถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีในการสร้างงาน คงความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจและเศรษฐกิจ ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดที่เข้าขั้นวิกฤต โดยที่ผ่านมา เราได้นำแนวคิดที่มุ่งเน้นดิจิทัลเป็นหลักมาปรับใช้ในตลาดหลายแห่งของเรา เช่นเมื่อช่วงต้นปี ที่เราได้เปิดตัวโครงการ Berdayakan Indonesia และ Bersama Malaysia เพื่อสนับสนุนแผนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอินโดนีเซียและมาเลเซีย ควบคู่ไปกับการสร้างทักษะให้ผู้คนนับล้านในทั้งสองประเทศอีกด้วย เราเชื่อว่าเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่ผู้นำจากรัฐบาลจะมารวมตัวกันเพื่อวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสร้างการฟื้นตัวให้กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในระยะต่อไป" ฌอง-ฟิลลิปป์ คูร์ตัวส์ รองประธานกรรมการบริหารและประธานกลุ่มความร่วมมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับชาติของไมโครซอฟท์ กล่าว



เร่งขับเคลื่อนการฟื้นฟู เสริมศักยภาพการปรับตัวของประเทศ ด้วยคลาวด์และ AI

จากการสำรวจโดย Economist Intelligence Unit เมื่อไม่นานมานี้ พบว่า บุคลากรภาครัฐ 8 จาก 10 คนที่เข้าร่วมการสำรวจ เห็นว่ามีการลงทุนในด้านดิจิทัลมากขึ้น หลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยพวกเขาต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการ Digital Transformation ที่มีต่อสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน



"สถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นนี้ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงเทรนด์ใหญ่ที่มีอิทธิพลอย่างมหาศาลในชีวิตของเรา ซึ่งก็คือความจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลให้มากขึ้น โดยไม่ได้มีปัจจัยขับเคลื่อนจากเหตุการณ์ด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจและสังคมด้วย เราจะพัฒนาต่อไปได้ก็ด้วยการแสวงหาวิธีใหม่ๆ ในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำของภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งก็เป็นภารกิจที่เครือข่ายพันธมิตรทางดิจิทัลของผู้นำแห่งเอเชียแปซิฟิกนี้จะเข้ามาตอบโจทย์ ด้วยการรวบรวมความรู้ มุมมอง และแนวคิดที่เป็นประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญมากมาย" แดนนี่ ควาห์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์และคณบดีแห่งวิทยาลัยนโยบายสาธารณะลีกวนยู มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าว



รายงานวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้น ซึ่งจัดทำขึ้นโดย The Economist เผยว่ารัฐบาลและองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่างให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยหน่วยงานภาครัฐที่มีความพร้อมสูงกว่าในเชิงดิจิทัลจะสามารถก้าวข้ามอุปสรรคและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โรคระบาดได้ดีกว่า และการลงทุนในด้านการปฏิรูปด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) ก็จะช่วยให้การปฏิบัติงานของภาครัฐมีความมั่นคง ต่อเนื่อง ปรับตัวได้ทันสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต



เจอราลด์ หวัง หัวหน้าฝ่ายกิจการภาครัฐประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซี เผยว่า "ทุกวันนี้ ประเทศ เมือง และชุมชนทุกหนแห่งต่างก็กำลังเดินหน้าเข้าสู่โลกดิจิทัลด้วยนวัตกรรมมากมาย ควบคู่ไปกับการเปิดประเทศอีกครั้งอย่างระแวดระวัง ตลอดสองปีที่ผ่านมา เราเล็งเห็นว่าการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานเพื่อการบริการในภาครัฐได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่ความสนใจของผู้นำโลกในช่วงก่อนก้าวเข้าสู่ปี 2565 นี้ ก็มุ่งไปที่สามประเด็นหลัก ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัย วิกฤตในห่วงโซอุปทาน และความยั่งยืน ซึ่งผู้นำในด้านไอทีก็ควรต้องหันมาให้ความสำคัญกับความรับรู้และเข้าใจในด้านนวัตกรรมดิจิทัล ผ่านนโยบายสาธารณะและข้อบังคับต่างๆ การกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนทางดิจิทัล และตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่ตรวจสอบได้อย่างชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งความเชื่อถือของประชาชนผู้เสียภาษี และการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น 5G, คลาวด์คอมพิวติ้งเจเนอเรชันถัดไป, ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์, บล็อกเชน, เทคโนโลยี AR/VR, อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง หรือ IoT รวมถึงระบบเอดจ์คอมพิวติ้งและควอนตัมคอมพิวติ้ง"



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม