ปัจจุบันการคุ้มครองเงินฝากในประเทศไทย ถูกปรับลดวงเงินเดิมจาก 5 ล้านบาท เหลือเพียงเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น!
- ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่วันที่:11 สิงหาคม 2564
- ตามประกาศของ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ประเทศไทย
- อ้างอิงจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก:
https://www.dpa.or.th/articles/view/covered-limit เรื่องนี้ส่งผลกระทบอย่างไร ?เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ภาพรวมสถาบันการเงินของไทยนั้นถือว่ายังอยู่ในสถานะ ที่แข็งแกร่งมาก
การประกาศปรับลดวงเงินคุ้มครอง จึงไม่ควรมีความกังวลมากเกินไป
- และจากรายงานสถิติ 98% ของคนไทยส่วนใหญ่ มีเงินฝากในบัญชีไม่ถึง 1 ล้านบาท
- ซึ่งหมายความวงเงินคุ้มครองนี้ ก็ยังสามารถครอบคลุมกลุ่มคนทั่วไป
*หากมีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท ควรทำอย่างไร ?1. พิจารณากระจายเงินฝาก ไปสู่หลาย
ธนาคาร- เนื่องจากระบบคุ้มครองเงินฝากของประเทศไทยนั้น จะให้ความคุ้มครองสถาบันการเงินละ 1 ล้านบาท
(รวมกันทุกบัญชี ที่มีอยู่ในธนาคารนั้น)
- หมายความว่า หากมีเงินฝากเกิน 1 ล้าน ก็จะได้รับความคุ้มครองสูงสุดแค่ 1 ล้านบาทต่อธนาคาร
* ตัวอย่างเช่น: หากมีเงินฝาก 3 ล้านบาท คุณอาจพิจารณากระจายเงินฝากไปยัง 3 ธนาคาร
- โดยแบ่งเป็นธนาคารละ 3 ล้านบาท, เพื่อให้ได้ความคุ้มครอง "เต็มจำนวน" ของยอดเงินทั้งหมด
2. พิจารณาเก็บเงินในรูปแบบอื่น ที่ไม่ใช่การฝากเงิน ตัวอย่างเช่น:
2.1 พันธบัตรรัฐบาล
2.2 กองทุนรวม
2.3 ตราสารหนี้
2.4 ประกันออมทรัพย์
2.5 อสังหาริมทรัพย์
*สิ่งที่คุณต้องทำความเข้าใจคือ “การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน” ซึ่งย่อมมีความเสี่ยง
คุณจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ความเสี่ยงในการลงทุนของสินทรัพย์ในแต่ละประเภทอย่างรอบคอบ